เรื่องดนตรี - บรรทัดห้าเส้น และ Key Signature
ครั้งจะเอาสัญลักษณ์ที่คนทั่วโลกเค้าใช้กัน มาให้ดูนะ
คิดว่าเกือบทุกคน คงจะรู้อยู่แล้วว่า ปกติ เค้าบันทึกโน้ตกันบน "บรรทัดห้าเส้น" เรามาเริ่มต้นโดยทำความรู้จักกับ "Clef" กันก่อน
รูปพวกนี้เอามาจากที่อื่นนะ (http://www.thefreedictionary.com/) ... นี่คือหน้าตาของ "กุญแจซอล (Treble Clef)" ที่เรารู้จักกัน
แล้วก็ "กุญแจฟา (Bass Clef)" ...
จริง ๆ ยังมีตัวอื่น ๆ อีกเยอะเลย ลองไปดูนี่ละกัน (Clef จาก Wikipedia อีกแล้ว) แต่สองตัวนี้ นิยมใช้ที่สุดหละ ... ตำแหน่งของหัวโน้ตในบรรทัดห้าเส้น บ่งบอกถึงโน้ตต่าง ๆ ดังรูป
คราวนี้มาคิดย้อนไปนิดนึง เรื่องเก่า ๆ เราพูดถึงโน้ตคู่ คราวนี้จะเอามาให้เห็นภาพ ในบรรทัดห้าเส้นนะ
(P = Perfect, M = Major, m = Minor, dim = Diminished, Aug = Augmented)
พอพลิกตัวล่างขึ้นไป 1 octave ก็จะสลับ M กับ m กัน
ตัวอย่างโน้ตคู่อื่น ๆ ... เมื่อสลับตัวบนตัวล่างกัน dim กับ Aug ก็จะสลับกัน (สังเกตว่า โน้ตแต่ละคู่ที่ตำแหน่งเดียวกัน ใน Treble Clef กับ Bass Clef อยู่ใน note class เดียวกันนะ)
Key Signature
คราวนี้ มาถึงตัวสำคัญของเราละ ... ลองดูก่อนว่า ถ้าเราเขียนโน้ตในบันไดเสียง D เมเจอร์ (คือ D[i] เมื่อ i = 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7) จะมีหน้าตายังไงบ้าง
แล้วลอง Eb เมเจอร์บ้าง...
พอเอาไปเขียนเป็นเพลงจริง ๆ เข้า ไอ้ตัว # กับ b เนี่ย มันก็รกเลย เค้าก็เลยมีวิธีขี้เกียจขึ้นมา คือ เขียน Key Signature ไว้ข้างหน้าก่อน
เย่ ... จะได้ประหยัดหมึก แล้วก็ไม่รกตาด้วย
จากที่รู้ในตอนก่อน ๆ ว่า nmScale(P) = MScale(P + 1.5) (เรื่องดนตรี - Scale) ดังนั้น Key Signature ของบันไดเสียง C เมเจอร์ จะเหมือนกับ A ไมเนอร์ คู่อื่น ๆ ก็ด้วย
Key Signature ของบันไดเสียงทั้งหมด มีให้ดู "ที่นี่" (Wikipedia อีกแล้ว)
5 Comments:
เย่ๆ อ่านรู้เรื่องด้วย
เย่ ๆ มีคนอ่านรู้เรื่องด้วย
ค่อยยังชั่ว
representation มีผลจริงๆ
แหงล่ะ ครูที่เก่งที่สุดอาจไม่ใช่ครูที่ฉลาดที่สุด แต่สามารถสื่อสารให้ศิษย์เข้าใจได้
(ว่าแล้วก็นึกถึงอาจารย์สอน Property Law ของเรา เป็นเด็กจบใหม่ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 แต่สอนห่วยแตกสุดยอด...สอนอยู่เทอมเดียว โดนเด็กเข้าชื่อประท้วง โดนไล่ออกไปเลย!)
ชอบมากเลยครับ
เข้าใจเยอะขึ้นมากๆเลยครับ
ขอบคุณครับๆ
...^(^ ^)^...
Post a Comment
<< Home