Discrete vs Continuous: ฟังก์ชัน เวกเตอร์ และเมตริกซ์
ในตอน Discrete: ฟังก์ชัน เวกเตอร์ และเมตริกซ์ เรารู้ว่าผลคูณเมตริกซ์ ที่แท้ก็คือผลคูณภายในนั่นเอง คราวนี้เราจะมาลองดูว่า ในกรณีของเวกเตอร์ที่มีโดเมนเป็นเซตอนันต์นับไม่ได้ อะไรคือ เมตริกซ์ และ ผลคูณ ของมันกับเวกเตอร์
คิดว่าเมตริกซ์คือฟังก์ชันสองตัวแปรนะ
จากความเดิมในเรื่อง Discrete: ฟังก์ชัน เวกเตอร์ และเมตริกซ์ สมมติว่า มีเวกเตอร์ f และเมตริกซ์ K ผลคูณก็จะเป็น
F = K ⋅ f
หรือถ้าคิดที่แต่ละตัวของ F ก็จะได้
F(y) = KT(y) ⋅ f
(KT คือ transpose ของ K นะ)
คราวนี้ ถ้าคิดผลคูณภายใน เราก็จะได้ว่า
F(y) = Σx∈D KT(y, x) f(x)
เมื่อ D คือ โดเมนของ KT(y) กับ f ซึ่งนับได้
แต่ถ้า D เป็นเซตอนันต์ที่นับไม่ได้ เราก็จะได้ว่า
F(y) = ∫x∈D KT(y, x) f(x) dx
เมื่อ D คือ โดเมนของ KT(y) กับ f ซึ่งนับได้
แต่ถ้า D เป็นเซตอนันต์ที่นับไม่ได้ เราก็จะได้ว่า
F(y) = ∫x∈D KT(y, x) f(x) dx
ถ้ามองทั้งสองสมการนี้ เป็นการแปลง T ซึ่งแปลงเวกเตอร์จาก f ไปเป็น F เราจะรู้คุณสมบัติที่สำคัญ 2 อย่าง คือ
T(f + g) = T(f) + T(g)
และ T(cf) = cT(f)
(ไม่พิสูจน์ให้ดูนะ มันง่าย)
และ T(cf) = cT(f)
(ไม่พิสูจน์ให้ดูนะ มันง่าย)
ซึ่งก็แสดงว่า T เป็นการแปลงเชิงเส้น (ถ้าลืมว่ามันหมายความว่าไง ลองไปดู Transformation: Abstraction & Overview นะ)
เมื่อมองเป็นการแปลง ทั่ว ๆ ไปคนจะนิยมใช้ตัวแปร "t" กับ "s" มากกว่า...
F(s) = Σt∈D KT(s, t) f(t)
F(s) = ∫t∈D KT(s, t) f(t) dt
F(s) = ∫t∈D KT(s, t) f(t) dt
แล้วก็ D กับ KT(s, t) ที่นิยมใช้กันก็มี...
- Discrete Fourier Transformation
→ D = Zn, KT(s, t) = e-ist - Fourier Series
→ D = [-L, L], KT(s, t) = (1/2L)e-iπst/L - Fourier Transformation
→ D = R, KT(s, t) = e-ist - Generating Function (Transformation)
→ D = Z+, KT(s, t) = st - Z Transformation
→ D = Z+, KT(s, t) = s-t - Laplace Transformation
→ D = R+, KT(s, t) = e-st
จริง ๆ มีมากกว่านี้แหละ แต่ยังไม่พูดถึงละกัน
0 Comments:
Post a Comment
<< Home