Discrete: ฟังก์ชัน เวกเตอร์ และเมตริกซ์
เรื่องนี้ ต่อเนื่องมาจาก Discrete: ผลคูณภายใน และ การถ่วงน้ำหนัก" นะ คราวนี้จะไม่มีอะไรหนัก ๆ เหนื่อย ๆ แต่ยาวอะ ต้องดูรายละเอียดให้ดี ๆ หน่อยนะ ... มันดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ก็พอมีเหมือนกัน
เวกเตอร์ = ฟังก์ชัน
สมมติว่า u เป็นเวกเตอร์ใน n มิติ โดยที่
u = (u1, u2, u3, ..., un)
เราอาจจะมองว่า ux เป็นฟังก์ชันของ x ที่มีโดเมนเป็น {1, 2, 3, ..., n} ก็ได้ดังนั้น ต่อจากนี้ไปจะเขียน u(x) แทน ux นะ
สมมติว่า α เป็นเวกเตอร์ n มิติที่ค่าในทุกแกนเป็น 1 เราจะเขียนได้ว่า
α(x) = 1
คราวนี้ ผลคูณภายในของ α กับ u ก็จะมีหน้าตาเป็น...
α⋅u = Σ1≤x≤n u(x)
กลายเป็นผลรวมของ u(x) ตั้งแต่ x = 1 ถึง n น่ะเอง
ขยายสัญลักษณ์เราอีกนิดนึง ... สมมติว่าโดเมนเราไม่ใช่ {1, 2, 3, ..., n} แต่เป็นเซตจำกัดอื่น ซึ่งมีจำนวนสมาชิกเท่ากัน สมมติให้ชื่อว่า D เราจะสามารถหาฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งและทั่วถึง T: {1, 2, 3, ..., n} → D ได้
เพื่อให้เขียนง่าย ๆ หน่อย เราก็นิยามซะเลยว่า
u⋅v = Σx∈D u(x)v(x)
เมื่อ D คือโดเมนร่วมของ u และ v
พอสัญลักษณ์เราเป็นแบบนี้แล้ว D ของเรา อาจจะเป็นเซตอนันต์ก็ได้นะ
เมตริกซ์ = ฟังก์ชันของเวกเตอร์ = ฟังก์ชันสองตัวแปร → ผลคูณของเมตริกซ์ = ผลคูณภายใน
สมมติว่า A = [ A1 : A2 : A3 : ... : Am ] เมื่อ Ax เป็นเวกเตอร์ n มิติ
คิดเหมือนกับเวกเตอร์ก็คือ เราจะมอง Ax เป็นฟังก์ชันของ x ก็ได้ ดังนั้นก็เขียนเป็น A(x) แทนละกัน แต่เนื่องจาก A(x) ก็เป็นเวกเตอร์อีก เราจะมองว่า (A(x))y = A(x, y) ก็ได้อีก
สมมติว่า D = {1, 2, 3, ..., m} และ E = {1, 2, 3, ..., n} เราจะมอง A เป็นฟังก์ชันได้สองแบบ คือ
- A: D → Rn จะได้ว่า A(x) เป็นเวกเตอร์ n มิติ
- A: D × E → R จะได้ว่า A(x, y) เป็นสเกลาร์
สมมติว่า b = (b(1), b(2), b(3), ..., b(m))
ผลคูณภายในของ A กับ b ก็จะเป็น:
c = A ⋅ b = Σx∈D A(x) b(x)
ซึ่งถ้าคิดทีละตัวของผลลัพธ์ จะเห็นว่า
ซึ่งถ้าเรากำหนดให้ A'(y) = (A(1, y), A(2, y), A(3, y), ..., A(m, y)) ก็จะยุบรูปได้เป็น
จากเรื่องในตอนเก่า ๆ (ดูอันบนก็พอ)
เห็นมั้ยว่า...
A ⋅ b = Ab เมื่อคูณแบบเมตริกซ์ !!!
ซึ่งถ้าคิดทีละตัวของผลลัพธ์ จะเห็นว่า
c(y) = Σx∈D A(x, y) b(x)
ซึ่งถ้าเรากำหนดให้ A'(y) = (A(1, y), A(2, y), A(3, y), ..., A(m, y)) ก็จะยุบรูปได้เป็น
c(y) = A'(y) ⋅ b
จากเรื่องในตอนเก่า ๆ (ดูอันบนก็พอ)
เห็นมั้ยว่า...
รู้หยั่งงี้ ก็ไม่ต้องจำแล้ว ว่าคูณเมตริกซ์มันทำกันยังไง :D
ถ้างง ๆ ก็เอารูปนี้ไปลองเพ่ง ๆ ดูนะ (รูปในตอนเก่าหนะ) นี่เป็นกรณี 2 มิติที่ m = n น่าจะง่ายหน่อย แต่แนวคิดเดียวกัน จะเอาไปขยายให้ m กับ n เป็นเท่าไหร่ก็ได้
ข้างล่างนี่แหละ ผลลัพธ์ที่ต้องการ (ไม่ต้องสนใจตรงที่บอกว่า "= w" นะ)
เรื่องของคำศัพท์: การคูณ และ การแปลง
เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมบางทีเรียกเมตริกซ์ว่า "การแปลง"?
เหตุผลมันอยู่ในสมการข้างบน สองสมการนี่แหละ (ยกมาให้ดูตรงนี้อีกทีละกัน จะได้ไม่ต้องกลับขึ้นไปดู)
c = A ⋅ b = Σx∈D A(x) b(x)
c(y) = Σx∈D A(x, y) b(x)
c(y) = Σx∈D A(x, y) b(x)
แต่เดิมที b เป็นฟังก์ชันของ x (คือมีโดเมนเป็น D = {1, 2, 3, ..., n}) พอเอา A มาคูณข้างหน้า ได้ผลลัพธ์เป็น c ซึ่งเป็นฟังก์ชันของ y (คือมีโดเมนเป็น E = {1, 2, 3, ..., m}) นี่แหละถึงเรียก A ว่าเป็น "การแปลง" (Transformation)
ถ้าให้ A เป็นเมตริกซ์จัตุรัส เราอาจจะมองได้ง่ายขึ้นนิดหน่อย ... ลองดูรูปนี้ (รูปเก่าเล่าใหม่อีกแล้ว :P)
รูปนี้ก็คือ ถ้าเรามีจุด (a, b) อยู่ในระบบพิกัด u-v และเรารู้ค่าของ u กับ v เทียบกับ i และ j เราก็จะสามารถแปลง (a, b) ให้เป็น (x, y) ในพิกัด i-j ได้โดยเอา [ u : v ] มาคูณกับ (a, b)
ในกรณีนี้ [ u : v ] ก็คือเมตริกซ์การแปลงของเรา
อินเวอร์สของการแปลง... ก็อินเวอร์สเมตริกซ์น่ะแหละ
อันนี้ต่อเนื่องจากเมื่อกี๊เลย เรารู้ว่า [ u : v ] เป็นเมตริกซ์การแปลง ซึ่งใช้แปลง (a, b) เป็น w = (x, y) แต่นอกจากนี้ เรายังรู้อีกอย่างจากในตอน ตามหาความหมายของ Determinant: Kramer's Rule ก็คือ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เราสามารถเอาค่า (a, b) คืนจาก (x, y) ได้ด้วย แต่เฉพาะเมื่อ | u : v | ≠ 0 นะ
และแล้ว หัวเรื่อง Transformation ก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อแล้วครับ! โปรดติดตาม :D
1 Comments:
ถึงเราจะเข้าใจได้ไม่หมดนะ...แต่ว่า เราก็รู้สึกว่า "เฮ้ย! เป็นอย่างนี้นี่เอง" เหมือนกัน
ขอบคุณมากๆนะ...บางทีก็สงสัยกับตัวเองนะว่าทำไมภาวินท์อายุ(เกือบจะ)เท่าเราแต่รู้และเข้าใจหมดแล้ว ขณะที่เราไม่เห็นรู้เรื่องอะไรเลยอะ เฮ้อออ
Post a Comment
<< Home