Thursday, September 15, 2005

เรื่องดนตรี - ไทรแอด

ขอพูดถึงเรื่องนี้ก่อนจะเอาบรรทัดห้าเส้นให้ดูละกันนะ ครั้งนี้เยอะแต่ไม่ยากนะ

คราวที่แล้วเรารู้จักโน้ตคู่ประเภทต่าง ๆ ไปแล้ว คราวนี้จะเติมโน้ตอีกตัว กลายเป็นไทรแอด (Triad)

นิยามก็คือ ไทรแอดคือเซตของตัวโน้ต 3 ตัว ตัวโน้ตตัวที่มี clef pitch ต่ำที่สุดในไทรแอด เรียกว่า เบส

เพื่อให้เขียนสะดวก เราจะเขียน (X, Y, Z) เพื่อแสดงไทรแอดที่มี X เป็นเบส และ | X |C < | Y |C < | Z |C

ตัวอย่างเช่น (F3, G3#, D4x) เป็นไทรแอดที่มี F3 เป็นเบส

ไทรแอดมีจำนวนอยู่นับไม่ถ้วน แต่ว่า เราจะสนใจแค่ไทรแอดบางประเภท ซึ่งเดี๋ยวจะค่อย ๆ แนะนำให้รู้จัก

จะเริ่มจากกลุ่มไทรแอดที่ตำแหน่งรากก่อนนะ แล้วต่อด้วยไทรแอดพลิกกลับ

ไทรแอดเมเจอร์ที่ตำแหน่งราก (Major Triads at Root Position)

(X, Y, Z) จะเป็นไทรแอด X เมเจอร์ที่ตำแหน่งราก ก็ต่อเมื่อ
1. (X, Y) เป็นโน้ตคู่ 3 เมเจอร์
2. (X, Z) เป็นโน้ตคู่ 5 เพอร์เฟกต์

ตัวอย่าง: (D1, F1#, A1) (A3#, C4x, E4#) (G8b, B8b, D9b)

แถม: ถ้า (X, Y, Z) เป็นไทรแอดเมเจอร์ที่ตำแหน่งรากแล้ว (Y, Z) จะเป็นโน้ตคู่ 3 ไมเนอร์

ไทรแอดไมเนอร์ที่ตำแหน่งราก (Minor Triads at Root Position)

(X, Y, Z) จะเป็นไทรแอด X ไมเนอร์ที่ตำแหน่งราก ก็ต่อเมื่อ
1. (X, Y) เป็นโน้ตคู่ 3 ไมเนอร์
2. (X, Z) เป็นโน้ตคู่ 5 เพอร์เฟกต์

ตัวอย่าง: (A2, C3, E3) (F5, A5b, C6) (D7b, F7bb, A7b)

แถม: ถ้า (X, Y, Z) เป็นไทรแอดไมเนอร์ที่ตำแหน่งรากแล้ว (Y, Z) จะเป็นโน้ตคู่ 3 เมเจอร์

ไทรแอดดิมินิชที่ตำแหน่งราก (Diminished Triads at Root Position)

(X, Y, Z) จะเป็นไทรแอด X ดิมินิชที่ตำแหน่งราก ก็ต่อเมื่อ
1. (X, Y) เป็นโน้ตคู่ 3 ไมเนอร์
2. (X, Z) เป็นโน้ตคู่ 5 ดิมินิช

ตัวอย่าง: (B4, D5, F5) (F6x, A6#, C7#) (D2, F2, A2b)

แถม: ถ้า (X, Y, Z) เป็นไทรแอดดิมินิชที่ตำแหน่งรากแล้ว (Y, Z) จะเป็นโน้ตคู่ 3 ไมเนอร์

ไทรแอดอ็อกเมนต์ที่ตำแหน่งราก (Augmented Triads at Root Position)

(X, Y, Z) จะเป็นไทรแอด X อ็อกเมนต์ที่ตำแหน่งราก ก็ต่อเมื่อ
1. (X, Y) เป็นโน้ตคู่ 3 เมเจอร์
2. (X, Z) เป็นโน้ตคู่ 5 อ็อกเมนต์

ตัวอย่าง: (B7, D8#, F8x) (E6b, G6, B6) (A1bb, C2b, E2b)

แถม: ถ้า (X, Y, Z) เป็นไทรแอดอ็อกเมนต์ที่ตำแหน่งรากแล้ว (Y, Z) จะเป็นโน้ตคู่ 3 เมเจอร์

ไทรแอดพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง (First Inversions of Triads)

ถ้า (X, Y, Z) เป็นไทรแอด X เมเจอร์ (หรือไมเนอร์ หรือดิมินิช หรืออ็อกเมนต์) ที่ตำแหน่งราก เราจะเรียก (Y, Z, X + octave) ว่าเป็น ไทรแอด X เมเจอร์ (หรือไมเนอร์ หรือดิมินิช หรืออ็อกเมนต์) พลิกกลับครั้งที่หนึ่ง

ตัวอย่าง:
  • (E5, G5, C6) = ไทรแอด C5 เมเจอร์พลิกกลับครั้งที่หนึ่ง
  • (D1, F1, B1) = ไทรแอด B0 ดิมินิชพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง
  • (E2, G2#, C3#) = ไทรแอด C3# ไมเนอร์พลิกกลับครั้งที่หนึ่ง
  • (A4b, C5, F5b) = ไทรแอด F4b อ็อกเมนต์พลิกกลับครั้งที่หนึ่ง
ไทรแอดพลิกกลับครั้งที่สอง (Second Inversions of Triads)

ถ้า (X, Y, Z) เป็นไทรแอด X เมเจอร์ (หรือไมเนอร์ หรือดิมินิช หรืออ็อกเมนต์) พลิกกลับครั้งที่หนึ่ง เราจะเรียก (Y, Z, X + octave) ว่าเป็น ไทรแอด X เมเจอร์ (หรือไมเนอร์ หรือดิมินิช หรืออ็อกเมนต์) พลิกกลับครั้งที่สอง

ตัวอย่าง:
  • (E7#, A7, C8#) = ไทรแอด A6 อ็อกเมนต์พลิกกลับครั้งที่สอง
  • (G2, C3, E3) = ไทรแอด C2 เมเจอร์พลิกกลับครั้งที่สอง
  • (E5b, A5, C6) = ไทรแอด A4 ดิมินิชพลิกกลับครั้งที่สอง
  • (A3#, D4#, F4#) = ไทรแอด D4# ไมเนอร์พลิกกลับครั้งที่สอง
สัญลักษณ์ย่อ

ในกรณีที่เรารู้ว่ากำลังพูดถึงไทรแอด เราอาจจะเขียนสัญลักษณ์สั้น ๆ เพื่อหมายถึงไทรแอดได้ ดังนี้
  • ไทรแอด X เมเจอร์ที่ตำแหน่งราก = M0:X = X
  • ไทรแอด X ไมเนอร์ที่ตำแหน่งราก = m0:X = Xm = x (เปลี่ยนเป็นตัวอักษรเล็ก)
  • ไทรแอด X ดิมินิชที่ตำแหน่งราก = dim0:X = Xdim = x° (เปลี่ยนเป็นตัวอักษรเล็กแล้วเติมวงกลม)
  • ไทรแอด X อ็อกเมนต์ที่ตำแหน่งราก = Aug0:X = XAug = X+ (เต็มเครื่องหมาย +)
ส่วนไทรแอดพลิกกลับครั้งที่หนึ่งและสอง เราจะเติม "a" และ "b" หรือเปลี่ยนเป็น "1" และ "2"

ดูตัวอย่างให้เข้าใจละกัน
  • (B4, D5, F5) = dim0:B4 = B4dim = b4°
  • (D8#, F8x, B8) = Aug1:B7 = B7Aug a = B7+a
  • (G2, C3, E3) = M2:C2 = C2b
  • (F5, A5b, C6) = m0:F5 = F5m = f5
สัญลักษณ์ที่จะเพิ่มเติมอีกกลุ่มก็คือ # b x bb และการบวก/ลบด้วย octave ดังนี้
  • (X, Y, Z)# = (X#, Y#, Z#)
  • (X, Y, Z)b = (Xb, Yb, Zb)
  • (X, Y, Z)x = (Xx, Yx, Zx)
  • (X, Y, Z)bb = (Xbb, Ybb, Zbb)
  • (X, Y, Z) + n octaves = (X + n octaves, Y + n octaves, Z + n octaves)
Pitch และ Pitch Class ของไทรแอด

เพื่อความสะดวกในอนาคต สมมติว่า (X, Y, Z) เป็นไทรแอด เราจะเขียน pitch ทั้งสามของโน้ตในไทรแอดนี้ว่า
| (X, Y, Z) | = { | X |P, | Y |P, | Z |P }

และเขียน pitch class ของโน้ตในไทรแอดนี้ว่า
[ (X, Y, Z) ] = [ | X |P ] ∪ [ | Y |P ] ∪ [ | Z |P ]

ไว้พูดถึงคอร์ดเมื่อไหร่ ก็ต้องใช้ตัวนี้อีกนะ

สรุป + ข้อสังเกต

ถ้า (X, Y, Z) = T0:X
  • (Y, Z, X + octave) = T1:X
  • (Z, X + octave, Y + octave) = T2:X
ถ้า (X, Y, Z) = M0:X
  • (X, Yb, Z) = m0:X
  • (X, Yb, Zb) = dim0:X
  • (X, Y, Z#) = Aug0:X
ถ้า (X, Y, Z) = Aug0:X
  • | Aug1:X | = | Aug0:Y |
  • | Aug2:X | = | Aug1:Y | = | Aug0:Z |
ถ้า (X, Y, Z) = T:X
  • (X, Y, Z)# = T:X#
  • เครื่องหมาย b x bb และ + n octaves ก็เหมือนกัน
ถ้า (X, Y, Z) = T0:X
  • (X, Y) เป็นโน้ตคู่ 3
  • (X, Z) เป็นโน้ตคู่ 5
  • (Y, Z) เป็นโน้ตคู่ 3
ถ้า (X, Y, Z) = T1:Z
  • (X, Y) เป็นโน้ตคู่ 3
  • (X, Z) เป็นโน้ตคู่ 6
  • (Y, Z) เป็นโน้ตคู่ 4
ถ้า (X, Y, Z) = T2:Y
  • (X, Y) เป็นโน้ตคู่ 4
  • (X, Z) เป็นโน้ตคู่ 6
  • (Y, Z) เป็นโน้ตคู่ 3
พอแค่นี้นะ ยาวแล้ว :D

1 Comments:

At 11/23/2005 2:45 AM, Anonymous Anonymous said...

เออ น่าสนใจดีว่ะ เดี๋ยวเข้ามาอ่านจริงๆ จังๆ นะ
อยากได้เป็น paper ที่ไม่ต้องมาอ่านในอินเตอร์เนทอ่ะ เหนื่อย+ปวดตาอ่ะ ทำ paper ให้หน่อยสิ :P

 

Post a Comment

<< Home