Discrete: Linear Dependency
จากตอน ตามหาความหมายของ Determinant: Linear Combination เราพอจะสรุปอะไรบางอย่างได้...
ขอนิยาม span แบบใหม่ก่อนทีนึง คราวนี้อาจจะอ่านยากนิดนึงนะ
span(S) = { Σu∈S auu | au ∈ R }
คราวนี้ก็นิยาม Linear Dependency ได้แล้ว (ขอไม่แปลนะ แปลแล้วน่าเกลียดยังไงก็ไม่รู้)
S จะมีคุณสมบัติ Linear Dependency
ก็ต่อเมื่อ
มี u ∈ S ที่ทำให้
u ∈ span(S - {u})
ก็ต่อเมื่อ
มี u ∈ S ที่ทำให้
u ∈ span(S - {u})
แล้วก็ ตัวตรงข้าม - Linear Independency
S จะมีคุณสมบัติ Linear Independency
ก็ต่อเมื่อ
สำหรับทุก ๆ u ∈ S
u ∉ span(S - {u})
จากแนวคิดแบบค่อย ๆ เพิ่มเข้าไปทีละตัว เราจะรู้ว่า
ถ้า S = { u1, u2, u3, ..., un } มีคุณสมบัติ Linear Independency
แล้ว span(S) = Rn
ดังนั้น | u1 : u2 : u3 : ... : un | ≠ 0 (จากตอนที่แล้ว)
แล้ว span(S) = Rn
ดังนั้น | u1 : u2 : u3 : ... : un | ≠ 0 (จากตอนที่แล้ว)
ตอนนี้เราพิสูจน์อะไรเด็ด ๆ ได้ครึ่งทางละ ขอบอกอะไรนิดนึงก่อน (ไม่น่าจะต้องแสดงวิธีพิสูจน์ให้ดูนะ)
(*) ถ้า u ∈ span(S) แล้ว span(S) = span(S ∪ {u})
แล้วก็คราวนี้ สมมติ S = { u1, u2, u3, ..., un } และ S มีคุณสมบัติ linear dependency เราจะรู้ว่า
มี ui ∈ S ที่ทำให้ ui ∈ span(S - {ui})
จากนี้ ถ้าเราเอา ui ใส่คืนเข้าไป จะเห็น (จาก (*) น่ะนะ) ว่าspan(S - {ui}) = span(S)
ดังนั้น span(S) ≠ Rn (ไม่เขียนวิธีพิสูจน์ละเอียดนะ) เลยสรุปได้ว่า| u1: u2: u3 : ... : un | = 0
สรุปก็คือ
S = { u1, u2, u3, ..., un } มีคุณสมบัติ linear dependency
ก็ต่อเมื่อ
| u1 : u2 : u3 : ... : un | = 0
ก็ต่อเมื่อ
| u1 : u2 : u3 : ... : un | = 0
อย่าเพิ่งงงชื่อหัวเรื่องอันนี้หละ มันเกี่ยวกับ Discrete vs Continuous ในอนาคต
ขอโทษล่วงหน้านิดนึงนะ ช่วงนี้คงเขียนน้อยลงหน่อยหละ เพราะจะส่งเปเปอร์ปลายสัปดาห์นี้ แล้วปลายเดือนหน้าก็แข่งเปียโนด้วย ไว้เรื่องพวกนี้จบเมื่อไหร่ จะทำสองภาษาเลย :D
0 Comments:
Post a Comment
<< Home