Saturday, September 17, 2005

เรื่องดนตรี - โน้ตสัมพัทธ์

ไว้จะเขียนเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพบ้างละ แต่ตอนนี้เอาเรื่องนี้ก่อน ตัวโน้ตสัมพัทธ์ :P

โดยปกติ หู (และสมองส่วนการฟัง) จะสามารถรับรู้ความสัมพัทธ์ของตัวโน้ตได้ง่ายกว่า pitch ของมันซะอีก

เวลาเราพูดถึงตัวโน้ตสัมพัทธ์แบบนี้ เราจะต้องบอกก่อนว่ามันสัมพัทธ์กับบันไดเสียงอะไร โดนส่วนใหญ่เราจะคิดเทียบกับบันไดเสียงเมเจอร์ และ บันไดเสียงไมเนอร์

Note Class

ก่อนที่จะพูดถึงตัวโน้ตสัมพัทธ์ เอาสัญลักษณ์อีกอย่างนึงก่อนดีกว่า

[ (X, O, M) ] = { (X, O + n, M) | n เป็นจำนวนเต็ม }

เนื่องจาก note class ไม่สนใจค่า O ดังนั้น เราจะเขียนใหม่ได้ว่า

(X, M) = { (X, n, M) | n เป็นจำนวนเต็ม }

คราวนี้ ถ้าเราเขียนชื่อตัวโน้ตแต่ไม่มีเลข octave ห้อย ก็ให้คิดว่าเป็น note class นะ เช่น Eb A Cx

นอกจากนี้ การใส่ # b x bb หรือ + n octaves ก็ทำได้ที่ note class เช่นกัน

[ X ]# = [ X# ]

สุดท้าย ... pitch class ของ note class ก็คือ

| [ (X, M) ] | = [ | (X, O, M) |P ]
เมื่อ O เป็นจำนวนเต็มอะไรก็ได้

โน้ตสัมพัทธ์ในบันไดเสียงเมเจอร์

ให้ X เป็น note class และ
MNoteClass(X, n) = N
โดยที่ (X0, N1) เป็นโน้ตคู่ n เมเจอร์หรือเพอร์เฟกต์
เราจะเรียกสมาชิกทุกตัวของ MNoteClass(X, n) ว่าเป็น
โน้ตตัวที่ n ของบันไดเสียง X เมเจอร์

ตัวอย่างเช่น
  • MNoteClass(C, 1) = C
  • MNoteClass(C, 2) = D
  • MNoteClass(C, 3) = E
  • MNoteClass(C, 4) = F
  • MNoteClass(C, 5) = G
  • MNoteClass(C, 6) = A
  • MNoteClass(C, 7) = B
  • MNoteClass(F, 1) = F
  • MNoteClass(G, 2) = A
  • MNoteClass(Bb, 3) = D
  • MNoteClass(D, 4) = G
  • MNoteClass(Eb, 5) = Bb
  • MNoteClass(A, 6) = F#
  • MNoteClass(Ab, 7) = G
ข้อสังเกต:
1. ถ้า MNoteClass(X, n) = Y แล้ว MNoteClass(X#, n) = Y# และ สำหรับเครื่องหมายอื่น ๆ ก็เหมือนกัน
2. ถ้า Y ∈ MNoteClass(X, n) แล้ว Y ∈ MScale( | X0 |P)


โน้ตสัมพัทธ์ในบันไดเสียงไมเนอร์

ก็คล้าย ๆ กับบันไดเสียงเมเจอร์แหละ สำหรับฮาร์โมนิกไมเนอร์ จะต่างกันที่โน้ตตัวที่ 3 กับ 6 คือ

hmNoteClass(X, 1) = MNoteClass(X, 1)
hmNoteClass(X, 2) = MNoteClass(X, 2)
hmNoteClass(X, 3) = MNoteClass(X, 3)b
hmNoteClass(X, 4) = MNoteClass(X, 4)
hmNoteClass(X, 5) = MNoteClass(X, 5)
hmNoteClass(X, 6) = MNoteClass(X, 6)b
hmNoteClass(X, 7) = MNoteClass(X, 7)

ข้อสังเกต: ถ้า Y ∈ hmNoteClass(X, n) แล้ว Y ∈ hmScale( | X0 |P)

ส่วนบันไดเสียงไมเนอร์อีกสองแบบที่เหลือ ก็ต่างกันนิดเดียว

nmNoteClass(X, 1) = MNoteClass(X, 1)
nmNoteClass(X, 2) = MNoteClass(X, 2)
nmNoteClass(X, 3) = MNoteClass(X, 3)b
nmNoteClass(X, 4) = MNoteClass(X, 4)
nmNoteClass(X, 5) = MNoteClass(X, 5)
nmNoteClass(X, 6) = MNoteClass(X, 6)b
nmNoteClass(X, 7) = MNoteClass(X, 7)b

amNoteClass(X, 1) = MNoteClass(X, 1)
amNoteClass(X, 2) = MNoteClass(X, 2)
amNoteClass(X, 3) = MNoteClass(X, 3)b
amNoteClass(X, 4) = MNoteClass(X, 4)
amNoteClass(X, 5) = MNoteClass(X, 5)
amNoteClass(X, 6) = MNoteClass(X, 6)
amNoteClass(X, 7) = MNoteClass(X, 7)

ข้อสังเกต:
1. ถ้า Y ∈ nmNoteClass(X, n) แล้ว Y ∈ nmScale( | X0 |P)
2. ถ้า
Y ∈ amNoteClass(X, n) แล้ว Y ∈ amScale( | X0 |P)

วิธีอ่านชื่อโน้ตคู่ (อีกที)

ตกลงกันอีกนิด สมมติว่าเรามี note class อยู่ ชื่อว่า X เราจะเอาตัวโน้ตที่ octave นึงของ X ออกมาได้ โดยเขียนว่า Xn เช่น MNoteClass(C, 3)5 = E5

แล้วก็ เราจะเขียน X[m] = MNoteClass(X, m) นะ จะได้สั้น ๆ

คราวก่อน (2 ตอนที่แล้ว) เคยบอกไปแล้วว่าโน้ตคู่มีชนิดอะไรบ้าง แต่คราวนี้จะบอกซ้ำ ในแบบที่จำง่ายขึ้นอีกนิดนึง
  • (X[1]n, X[4]n) และ (X[1]n, X[5]n) เป็นโน้ตคู่เพอร์เฟกต์
  • (X[1]n, X[2]n) (X[1]n, X[3]n) (X[1]n, X[6]n) และ (X[1]n, X[7]n) เป็นโน้ตคู่เมเจอร์
เมื่อใส่ b เข้าไป จะได้
  • (X[1]n, X[4]nb) และ (X[1]n, X[5]nb) เป็นโน้ตคู่ดิมินิช
  • (X[1]n, X[2]nb) (X[1]n, X[3]nb) (X[1]n, X[6]nb) และ (X[1]n, X[7]nb) เป็นโน้ตคู่ไมเนอร์
ใส่ b เข้าไปอีกทีที่ตัวบนของโน้ตคู่ไมเนอร์ จะกลายเป็นโน้ตคู่ดิมินิช
  • (X[1]n, X[2]nbb) (X[1]n, X[3]nbb) (X[1]n, X[6]nbb) และ (X[1]n, X[7]nbb) เป็นโน้ตคู่ดิมินิช
กลับไปที่กลุ่มแรก (เพอร์เฟกต์กับเมเจอร์) เมื่อใส่ # เข้าไปที่ตัวบน จะได้
  • (X[1]n, X[m]n#) เป็นโน้ตคู่อ็อกเมนต์ เมื่อ m = 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
เหตุผลนิด ๆ หน่อย ๆ กับการเรียกชื่อโน้ตคู่

ย้ำข้อสังเกตที่เคยบอกไว้อีกทีละกัน เผื่อจะเข้าใจกันมากขึ้นว่า ทำไมเราถึงเรียกโน้ตคู่พวกนี้ว่า เพอร์เฟกต์ เมเจอร์ ไมเนอร์ อ็อกเมนต์ และดิมินิช

สมมติว่า (u, v) เป็นโน้ตคู่ 2 3 4 5 6 หรือ 7 เราจะรู้ว่า (v, u + octave) เป็นโน้ตคู่ 7 6 5 4 3 หรือ 2 ตามลำดับ ถ้าให้ w = u + octave เราจะสรุปได้ว่า
  • (u, v) เป็นโน้ตคู่เพอร์เฟกต์ → (v, w) เป็นโน้ตคู่เพอร์เฟกต์
  • (u, v) เป็นโน้ตคู่เมเจอร์ → (v, w) เป็นโน้ตคู่ไมเนอร์
  • (u, v) เป็นโน้ตคู่ไมเนอร์ → (v, w) เป็นโน้ตคู่เมเจอร์
  • (u, v) เป็นโน้ตคู่อ็อกเมนต์ → (v, w) เป็นโน้ตคู่ดิมินิช
  • (u, v) เป็นโน้ตคู่ดิมินิช → (v, w) เป็นโน้ตคู่อ็อกเมนต์

6 Comments:

At 9/17/2005 3:14 AM, Anonymous Anonymous said...

แวะมาลองอ่านครับ

 
At 9/17/2005 9:38 AM, Blogger peam said...

เริ่ม symbol มหาศาล stack ล้นจริงๆด้วย

 
At 9/17/2005 9:44 AM, Blogger peam said...

"โดยปกติ หู (และสมองส่วนการฟัง) จะสามารถรับรู้ความสัมพัทธ์ของตัวโน้ตได้ง่ายกว่า pitch ของมันซะอีก"
เห็นด้วยๆ

 
At 9/17/2005 11:58 PM, Blogger Tunococ said...

555 symbol มหาศาล!!!

พอเขียนบรรทัดห้าเส้น จะไม่ยุบยับแบบนี้แล้ว

 
At 9/23/2005 1:15 AM, Anonymous Anonymous said...

จะเล่นดนตรีให้เก่ง ต้องคิดมากมายขนาดนี้เลยหรอ
แล้ว Auditory nerve (CN VIII)สมองส่วน myelencephalon คิดความสัมพัทธ์ได้เร็วเลยเหรอ งั้นมันก็โง่ที่จำความถี่ไม่ได้เนอะ

 
At 11/06/2009 4:28 PM, Anonymous แปลภาษาฝรั่งเศส said...

ทำไมมันยากอย่างนี้หนอ

 

Post a Comment

<< Home