Continuous: Linear Dependency
ขอทวนความรู้ในตอนอื่นนิดนึงนะ เราจะเรียกการแปลง f:A → B ว่าเป็น การแปลงเชิงเส้น (Linear Transformation) ก็ต่อเมื่อ
f(x + y) = f(x) + f(y)
และ
f(cx) = cf(x)
และ
f(cx) = cf(x)
จากนิยามของ Linear Combination ถ้า
w = au + bv
เมื่อ a, b ∈ R
หรือก็คือเมื่อ a, b ∈ R
w ∈ span({u, v})
เราจะบอกว่า w เป็น ผลรวมเชิงเส้น (Linear Combination) ของ u กับ v
คราวนี้ ถ้าเราจะบอกว่า {u, v} มีคุณสมบัติ Linear Dependency หรือไม่ เราก็ต้องตรวจสอบว่า | u : v | = 0 รึเปล่า
ข้อจำกัดของวิธีนี้ก็คือ u และ v จะต้องมีจำนวนมิติเท่ากับ 2 เท่านั้น แต่ถ้า u กับ v ของเรามีโดเมนที่มากกว่านี้หละ เราจะทำยังไง?
วิธีแก้ก็คือ ... สมมติว่าเรามีการแปลงเชิงเส้น ชื่อว่า f เราจะรู้ว่า
ถ้า w = au + bv
แล้ว f(w) = af(u) + bf(v)
แล้ว f(w) = af(u) + bf(v)
เพื่อให้เขียนง่าย ๆ หน่อย เราจะกำหนดให้
u' = f(u)
v' = f(v)
w' = f(w)
v' = f(v)
w' = f(w)
ซึ่งแปลว่า ถ้าเรากำหนดเวกเตอร์ใหม่กลุ่มนึง ชื่อว่า p(x) กับ q(x) ดังนี้
p(x) = ( u(x), u'(x) )
q(x) = ( v(x), v'(x) )
q(x) = ( v(x), v'(x) )
ข้อสรุปที่เราจะได้ก็คือ (f ต้องเป็นตามเงื่อนไขบางอย่างด้วย ... ไว้พูดถึงทีหลังนะ)
ถ้า {u, v} มีคุณสมบัติ Linear Dependency แล้ว {p(x), q(x)} ก็จะมีด้วยสำหรับทุก x (ที่อยู่ในโดเมนของ u กับ v)
และ
ถ้า {u, v} มีคุณสมบัติ Linear Independency แล้ว {p(x), q(x)} ก็จะมีด้วยสำหรับทุก x
ซึ่งเมื่อรวมกัน จะได้
"{u, v} มีคุณสมบัติ Linear Dependency ก็ต่อเมื่อ {p(x), q(x)} มีคุณสมบัติ Linear Dependency สำหรับทุก x"
จริง ๆ แล้ว วิธีนี้สามารถใช้กับเวกเตอร์มากกว่า 2 ตัวได้ด้วย แต่เราก็ต้องหา f2 f3 ... fn - 1 ตัวอื่น ๆ (เดี๋ยวจะพูดถึงวิธีเลือก)
สังเกตว่า ข้อสรุปนี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบ Linear Dependency ของกลุ่มเวกเตอร์ที่มีโดเมนเป็นอนันต์ได้ด้วย
ตัวอย่างการใช้งานที่รู้จักกันดีก็คือ Wronskian ซึ่งเป็นกรณีที่ fi(x) คือ อนุพันธ์อันดับที่ i ของ x เช่น
u(x) = 2x + 1
v(x) = x2 - x
w(x) = 2x2 + 1
v(x) = x2 - x
w(x) = 2x2 + 1
เราอยากรู้ว่า {u, v, w} มีคุณสมบัติ Linear Dependency หรือไม่ เราจะใช้ Wronskian ได้เพราะว่าเวกเตอร์ทั้งสามนี้มีอนุพันธ์ที่ทุกจุดที่เราสนใจ เริ่มโดยหาอนุพันธ์อันดับต่าง ๆ ของเวกเตอร์ทั้งสามก่อน
u'(x) = 2
v'(x) = 2x - 1
w'(x) = 4x
u''(x) = 0
v''(x) = 2
w''(x) = 4
v'(x) = 2x - 1
w'(x) = 4x
u''(x) = 0
v''(x) = 2
w''(x) = 4
คราวนี้ เราก็สร้างเวกเตอร์ p(x) q(x) และ r(x) ดังนี้
p(x) = (u(x), u'(x), u''(x)) = (2x + 1, 2, 0)
q(x) = (v(x), v'(x), v''(x)) = (x2 - x, 2x - 1, 2)
r(x) = (w(x), w'(x), w''(x)) = (2x2 + 1, 4x, 4)
q(x) = (v(x), v'(x), v''(x)) = (x2 - x, 2x - 1, 2)
r(x) = (w(x), w'(x), w''(x)) = (2x2 + 1, 4x, 4)
คราวนี้เราก็หาค่า Wronskian สำหรับแต่ละค่า x ดังนี้
W(x) = | p(x) : q(x) : r(x) |
พอแทนค่าลงไป จะได้
W(x) | = | 4(2x + 1)(2x - 1) + 4(2x2 + 1) |
- 8x(2x + 1) - 8(x2 - x) | ||
= | 16x2 - 4 + 8x2 + 4 - 16x2 - 8x - 8x2 + 8x | |
= | 0 |
เราจึงสรุปได้ว่า {u, v, w} มีคุณสมบัติ Linear Dependency
นอกจากการใช้ Wronskian เราอาจจะหา fi ตัวอื่น ๆ มาแทนได้ เช่น Δ ลองคิดในตัวอย่างอันเดิม ก็จะได้ว่า
Δu(x) = 2
Δv(x) = 2x
Δw(x) = 4x + 2
Δ2u(x) = 0
Δ2v(x) = 2
Δ2w(x) = 4
Δv(x) = 2x
Δw(x) = 4x + 2
Δ2u(x) = 0
Δ2v(x) = 2
Δ2w(x) = 4
แล้วก็สร้าง p(x) q(x) r(x) เหมือนเดิม
p(x) = (u(x), Δu(x), Δ2u(x)) = (2x + 1, 2, 0)
q(x) = (v(x), Δv(x), Δ2v(x)) = (x2 - x, 2x, 2)
r(x) = (w(x), Δw(x), Δ2w(x)) = (2x2 + 1, 4x + 2, 4)
q(x) = (v(x), Δv(x), Δ2v(x)) = (x2 - x, 2x, 2)
r(x) = (w(x), Δw(x), Δ2w(x)) = (2x2 + 1, 4x + 2, 4)
แล้วก็หา | p(x) : q(x) : r(x) | สำหรับแต่ละค่า x (ยืมเครื่องหมาย W(x) จาก Wronskian มาละกันนะ)
W(x) | = | 8x(2x + 1) + 4(2x2 + 1) |
- 2(2x + 1)(4x + 2) - 8(x2 - x) | ||
= | 16x2 + 8x + 8x2 + 4 - 16x2 - 16x - 4 - 8x2 + 8x | |
= | 0 |
นอกจากนี้ เราจะลองให้ f1 = d/dx และ f2 = Δ ก็ได้ คราวนี้ p(x) q(x) r(x) จะเปลี่ยนเป็น
p(x) = (u(x), u'(x), Δu(x)) = (2x + 1, 2, 2)
q(x) = (v(x), v'(x), Δv(x)) = (x2 - x, 2x - 1, 2x)
r(x) = (w(x), w'(x), Δw(x)) = (2x2 + 1, 4x, 4x + 2)
q(x) = (v(x), v'(x), Δv(x)) = (x2 - x, 2x - 1, 2x)
r(x) = (w(x), w'(x), Δw(x)) = (2x2 + 1, 4x, 4x + 2)
ซึ่ง (ไปลองทด ๆ ดูเองละกันนะ) | p(x) : q(x) : r(x) | = 0 สำหรับทุก x
จะเห็นว่า เพียงแค่เลือก fi ให้ใช้งานได้ เราก็จะตรวจสอบ Linear Dependency ได้ ไม่ว่าโดเมนของเวกเตอร์ จะเป็นเซตจำกัด เซตอนันต์นับได้ หรือเซตนับไม่ได้
การเลือก fi
ในกรณีที่เวกเตอร์ของเรามีโดเมนเป็นจำนวนเต็ม (นับได้) ตัวเลือกที่นิยมคือ fi = Δi หรือ Ei (เผื่อลืม... Eu(x) = u(x + 1) นะ)
ส่วนกรณีที่โดเมนเป็นช่วง (คือนับไม่ได้) ตัวเลือกที่นิยมคือ fi = (d/dt)i (ผลลัพธ์เป็น Wronskian)
แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถเลือก f อื่น ๆ ได้อีกมากมาย ... ขอกำหนดสัญลักษณ์อีกตัวนึงก่อนนะ
Eru(x) = u(x + r)
เมื่อ r ∈ R
เมื่อ r ∈ R
คราวนี้ แค่เราเลือกให้
fi = Er(i)
โดยที่ r(i) = r(j) ก็ต่อเมื่อ i = j
โดยที่ r(i) = r(j) ก็ต่อเมื่อ i = j
ก็จะใช้กับเวกเตอร์ที่มีโดเมนเป็นอนันต์แล้ว
นอกจากนี้ ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า
Δ = E - 1
d/dx = limr→0 (Er - 1)/r
d/dx = limr→0 (Er - 1)/r
ซึ่งถ้าคิดขยายไปเรื่อย ๆ แล้ว เราจะสรุปกรณีที่กว้างกว่าได้ว่า
ถ้า Pi(x) เป็นฟังก์ชัน โดยที่ { Pi(x) | i = 0, 2, ..., n - 1 } มีคุณสมบัติ Linear Independency สำหรับทุก x ∈ R แล้ว fi = Pi(E) จะเป็นการแปลงที่ใช้ตรวจสอบ Linear Dependency ของเวกเตอร์ได้
จบและ ... ยาวเนอะ
0 Comments:
Post a Comment
<< Home