Discrete vs Continuous: พื้นฐาน
ขอบอกไว้ก่อนนะว่า คราวนี้เนื้อหาน้อยหน่อยแต่ยาว เพราะจะเป็นการกำหนดข้อตกลงสำหรับเรื่องต่อ ๆ ไปในอนาคต
สมมติว่าเรามีลำดับอยู่
a1, a2, a3, ..., an
เวลาหาผลบวกเราก็จะเขียนว่า
แล้วถ้ากำหนดฟังก์ชัน f ว่า
f(x) = ax
ก็จะได้ว่าผลบวกอันเดิม กลายเป็นหน้าตาแบบนี้ (อันขวา)
สมมติว่า f(x) เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง เราจะเห็นว่า
แต่ถ้าเราคิดผลบวกของ f(x) เฉพาะตอนที่ x เป็นจำนวนเต็ม จะมองภาพผลรวมในกราฟได้แบบในรูปข้างล่างนี่
หมายเหตุ: ลูกศร แปลว่า ตั้งใจกำหนดให้หน้าตามันคล้าย ๆ กันอะนะ
สัญลักษณ์นี้ ยืมมาจาก Knuth นะครับ
จำสัญลักษณ์นี้ไว้ดี ๆ หละจะใช้อีกนานเลย
แล้วมองแบบนี้มีประโยชน์ยังไงหละ?
เอาตัวอย่างอันนึงละกัน เราจะพิสูจน์ว่า 1 + 2 + 3 + ... + n = n(n + 1)/2 ด้วยการมองภาพผลรวมจากกราฟ
เริ่มโดย มองภาพสามเหลี่ยมอันนี้
แน่นอนว่าพื้นที่ต้องเท่ากับ (1/2)n2 (จะคิดจากสูตรพื้นที่สามเหลี่ยมหรือจะ integrate เอาก็ได้)
คราวนี้ลองดูภาพนี้
จะเห็นว่าพื้นที่ของผลบวกมันน้อยกว่าพื้นที่ของ integral อยู่ n/2 ดังนั้นจะตั้งสมการได้ว่า
ซึ่งก็ทำให้สามารถสรุปได้ว่า
1 + 2 + 3 + ... + (n - 1) = n(n - 1)/2
หรือก็คือ
1 + 2 + 3 + ... + n = n(n + 1)/2
น่ะแหละ
คราวหน้าจะต่อเรื่องการหาผลบวกแบบไม่ต่อเนื่อง (Σ น่ะ) อีกนะ
3 Comments:
เหมือนได้ทบทวนความรู้เดิม (ที่หายไปแล้ว จากการเรียนกฎหมาย)
เขียนน่ะจริงๆแล้วไม่เกี่ยวกับเลขหรอกนะ
แต่จะขอศัพท์อีกน่ะ
ชื่อของภาวินท์มาจากคำว่า
ภาวะ+อินท์
ภาวะ แปลว่า การเป็น/การดำรง
อินท์ แปลว่า พระอิททร์ ประมุขของเทพบนสววรค์
ดังนั้น ภาวินท์แปลว่า การจูติของพระอินทร์
หรือ การดำรงสภาพอวตารของพระอินทร์
ก็เลยอยากทราบคำศัพท์จำพวกเทพๆน่ะครับ
การเป็นเทพ
การจุติ
คำที่สามารถแปลว่าพระเจ้าได้
อะไรเทือกๆนั้น
(แอบรู้ความหมายคำว่าภาวินท์มาครับ)
Kaho
อยาก display math จัดการนี่เลย:
http://www.math.union.edu/~dpvc/jsMath/
น่าจะใช้กะ blog นี้ได้
Post a Comment
<< Home