รากศัพท์ LOQ - เกี่ยวกับคำ
เกือบลืมไปว่าเราก็จะเขียนเรื่องภาษาด้วย อิอิ... วันนี้เอารากศัพท์ตัวนึงมาฝาก
LOQ
ความหมายคร่าว ๆ ของมันก็คือ "เกี่ยวกับคำ"
คำ(หลัก ๆ)ที่สร้างมาจากรากศัพท์นี้ ก็มี
colloquy (n)
- แปลว่า "การสนทนาอย่างเป็นทางการ" อนุพันธ์ของคำนี้ก็คือ colloquium (n, pl = colloquia) ซึ่งแปลว่า "การสัมมนาทางวิชาการ"
- คำนี้แปลกหน่อย ความหมายมันไม่สอดคล้องกับ colloquy หรือ colloquium เพราะ colloquial language แปลว่า "ภาษาพูด ไม่เป็นทางการ" อนุพันธ์ของคำนี้ก็คือ colloquialism (n) ซึ่งก็คือ "การใช้ภาษาแบบภาษาพูด"
- eloquent person คือ "คนที่ใช้ภาษาเก่ง พูดเข้าใจง่าย ชัดถ้อยชัดคำ" ส่วนคำว่า eloquence ก็มีความหมายตามที่มันควรจะเป็นก็คือ "ลักษณะการใช้ภาษาที่ดี"
magnilogquent (adj) → magniloquence (n)
- อันนี้แปลง่ายนะ grand กับ magn หมายถึง "เยอะมาก" สองคำนี้มีความหมายเหมือนกันคือ "ใช้ภาษาแบบฟุ่มเฟือยหรือหรูหรา" อาจจะมีความหมายบวกหรือลบก็ได้ (ถ้าเป็นแง่ลบ อาจจะแปลว่า น้ำท่วมทุ่ง ไร้สาระ ก็ได้)
- คำนี้เป็นคำที่มีความหมายในแง่ลบอย่างเดียวเลย เพราะแปลว่า "พูดมาก ไร้สาระ น้ำท่วมทุ่ง"
- คำนี้มีความหมายกว้างหน่อย คือ ความหมายจากรากศัพท์ จะแปลว่า "การให้ร้าย การว่าร้าย" (อาจจะจริงหรือแต่งขึ้นก็ได้) ความหมายที่กว้างหน่อยก็คือ "การโจมตี" แต่คำนี้ยังมีอีกความหมายหนึ่ง ที่แปลว่า "ความอับอายขายหน้าต่อสาธารณชน" (syn opprobrium) ซึ่งก็พอจะมีความสัมพันธ์กับความหมายเดิมอยู่บ้างแหละ
- คำนี้ไม่ค่อยต้องจำความหมายเท่าไหร่ เพราะมีรากศัพท์ช่วยอีกตัวคือ sol (= โดดเดี่ยว เช่น solo solitude isolate ฯลฯ) soliloquise แปลว่า "พูดกับตัวเอง" นะ
- คำนี้ก็เหมือนกัน รากศัพท์ somn บอกว่าเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ดังนั้น somniloquy และ somniloquism ก็จะแปลว่า "การละเมอพูด" นั่นเอง
- อันนี้เป็นศัพท์เฉพาะทางนิดนึง ventriloquis แปลว่า "พูดแทนหุ่นกระบอกที่ขยับปากได้ แล้วก็ขยับปากหุ่นกระบอกตามที่พูดด้วย" ... ไปลองค้น ๆ เอาตาม Search Engine คงจะเจออะไรเยอะหละ (เอาตัวอย่างมาให้ดูอันนึงเพื่อให้เห็นภาพ: Ventriloquism 101)
เริ่มจากคำหลักก่อนละกัน
locution (n) = คำพูด
จากนี้ ก็ลองดูคำจากรากศัพท์ LOCU กันนะ
allocution (n)
- al แสดงถึงการสนับสนุน ดังนั้น allocution รวม ๆ ก็แปลว่า "การแนะนำและสนับสนุน" (อาจจะแกมบังคับก็ได้)
- อันนี้แปลง่ายมากเลย circum หมายถึงรอบ ๆ ดังนั้น circumlocution ก็คือ "การพูดอ้อม ๆ" น่ะแหละ
- ถ้าแปล e ว่า "ดี" คำว่า elocute ก็จะได้แปลว่า "พูดแบบ expert ด้านภาษา" นั่นเอง
- ก็ แปลจากคำว่า inter ได้เลยนะ รวม ๆ คำนี้แปลง่าย ๆ เลยว่า "การสนทนา" น่ะแหละ
- คำนี้ จะว่าเดารากศัพท์ได้ มันก็พอได้แหละ แต่ pro มันกว้างไปนิดนึง คงต้องจำหละว่า pro ในคำนี้มันแปลว่าอะไร ... prolocutor แปลว่า "โฆษก" หรือ "ผู้พูดแทนกลุ่ม" นะ
สรุป:
LOQ
colloquy (n) = formal conversation
colloquium (n) = academic conference
colloquial (adj) = informal
eloquent (adj) = fluent in speech
grandiloquent (adj) = excessive in verbal ornamentation
magniloquent (adj) = grandiloquent
loquacious (adj) = talkative
obloquy (n) = verbal attack | opprobrium
soliloquize (v) = talk to oneself
somniloquy (n) = talking while asleep
ventriloquize (v) = speak as if the dummy speaks
LOCU
allocution (n) = speech which advises or urges
circumlocution (n) = indirect expression
elocute (v) = declaim in an expert manner
interlocution (n) = conversation
prolocutor (n) = spokesperson
6 Comments:
hey man ..... where is my solution la
เดี๋ยวดิ ... ท่าทางมันจะยากกว่าที่คิด
palindrome เหรอ ไปหาเอาตาม google สิ น่าจะมีเยอะ
คนขี้เหงาของคำศัพท์คำว่าเหงาครับ
เอาตระกูลเหงาอ่ะครับ
Kaho
สารภาพว่ะ ไม่รู้จักคำพวกนี้ว่ะ ฮ่า ฮ่า
โอ้โห ขอบคุณค่า
Post a Comment
<< Home