Friday, October 14, 2005

Transformation: Domain, Range and Inverse

ย้ำคำเดิมอีกที ... การแปลง (Transformation) มันก็คือฟังก์ชัน (Function) น่ะแหละ ดังนั้น มันต้องมีโดเมนกับเรนจ์ และอาจจะมีอินเวอร์ส

สมมติให้ T เป็นการแปลงที่มีโดเมนเป็น D และเรนจ์เป็น R

เงื่อนไขการมีอินเวอร์สของการแปลง ก็คือ (ทวนของเก่านิดนึงอะนะ)
  1. x, y ∈ D → [T(x) = T(y) ↔ x = y]
  2. y ∈ R → จะมี x ∈ D ที่ทำให้ T(x) = y
ข้อแรก ก็คือที่เราเรียกกันว่า คุณสมบัติหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One) และข้อสองก็คือที่เรียกว่า คุณสมบัติทั่วถึง (Onto)

เรามักจะเขียนว่า T:A → B เพื่อบอกว่า A เป็นโดเมนของ T และ เรนจ์ของ T เป็นสับเซตของ B นะ

Bijection

สั้น ๆ ก็คือ "ถ้า T เป็น bijection จาก A ไป B แปลว่า T เป็นฟังก์ชันที่มีอินเวอร์ส"

Finite, Infinitely Countable, Uncountable
  1. เซต A จะเป็นเซตจำกัด (Finite) ก็ต่อเมื่อ มันมีจำนวนสมาชิกจำกัดไง ... (จะบอกทำไมเนี่ย - -'')
  2. เซตจำกัดทุกเซต นับได้ (Countable)
  3. เซต A จะเป็นเซตไม่จำกัด แต่นับได้ (Infinitely Countable หรือ Countably Infinite) ถ้าสามารถหา Bijection จาก A ไป Z (เซตของจำนวนเต็มหนะ) ได้
  4. เซต A จะเป็นเซตนับไม่ได้ (Uncountable) ถ้ามันไม่จำกัด และนับไม่ได้
ความเป็นจริงบางประการ
  1. ถ้า A ⊆ Z และ A เป็นเซตไม่จำกัด แล้ว A จะนับได้
  2. Q (เซตของจำนวนตรรกยะ) นับได้
  3. ถ้า A และ B นับได้ A ∪ B กับ A × B จะนับได้
  4. R × A จะนับได้ก็ต่อเมื่อ A = ∅
  5. ช่วง [a, b] (a, b) [a, b) และ (a, b] จะนับไม่ได้ก็ต่อเมื่อ a < b (คือ โดยทั่วไป มันจะนับไม่ได้หนะ)
ตัวอย่าง Bijection ที่ง่าย ๆ (x กับ y เป็นตัวแปร นอกนั้นเป็นค่าคงที่นะ)
  • x + a ⇒ (s, t) → (s + a, t + a)
  • ax ⇒ (s, t) → (as, at)
  • tan x ⇒ (-π/2, π/2) → (-∞, ∞)
  • ex ⇒ (-∞, ∞) → (0, ∞)
  • x + y(y + 1)/2 ⇒ (Z+ ∪ {0}) × (Z+ ∪ {0}) → (Z+ ∪ {0})
ตัวอย่าง Bijection ที่พิเรนทร์นิดนึง

ก่อนจะเอาให้ดู ขอตกลงเครื่องหมายนิดนึงก่อน เพื่อให้เขียนง่ายขึ้น

[P] เมื่อ P เป็น predicate จะมีค่าเป็น 1 ถ้า P เป็นจริง และเป็น 0 ถ้า P เป็นเท็จ

เอาหละ ต่อไปนี้คือ bijection ตัวอย่างอีกตัวนึง
  • [x ∈ Z] + x ⇒ [0, ∞) → (0, ∞)
bijection แบบนี้ มีได้อีกหลายแบบนะ แต่ที่ต้องการจะสื่อก็คือ ... เราสามารถหา bijection ที่ถ่ายทอดช่วงเปิดไปปิด หรือปิดไปเปิด หรือครึ่งเปิดครึ่งปิด ยังไงก็ได้

Cardinal Numbers

สำหรับเซตนับได้ Cardinal Number ของมันก็คือ จำนวนสมาชิกนั่นเอง ดังนั้น วิธีเขียน cardinal number ของเซต A ก็คือ |A|

คุณสมบัติสำคัญของ cardinal number ก็คือ ถ้าสามารถหา bijection จาก A ไป B ได้ เราจะรู้ว่า |A| = |B|

สำหรับเซตอนันต์ เค้าก็มีการนิยาม cardinal number ไว้เช่นกัน ดังนี้

|Z| = ℵ0
|R| = c

โดยที่ ℵ0 คือ cardinal number ที่น้อยที่สุดของเซตอนันต์ (มันเลยห้อย 0 ไง) จะว่าไปก็คือ Z คือเซตอนันต์ที่ "เล็ก" ที่สุดน่ะแหละ

แล้วเค้าก็มีสมมติฐานอันนึง ชื่อว่า Continuum Hypothesis ซึ่งบอกว่า ไม่สามารถหาเซต A ที่ทำให้ ℵ0 < |A| < c ได้ ... เน้นว่าเป็น สมมติฐาน นะ เพราะว่า มันไม่สามารถพิสูจน์ได้ (ด้วยระบบเซตแบบ Cantor)

คราวนี้ เราอาจจะสรุปบางอย่างได้สะดวกขึ้น เช่น
  • ถ้า a < b แล้ว | (a, b) | = | [a, b) | = | (a, b] | = | [a, b] | = c
  • |2Z| = 20 = c
  • c2 = c × c > c
  • ถ้า |A| = ℵ0 และ 0 < |B| ≤ ℵ0 แล้ว |A × B| = ℵ0
  • ถ้า |A| = c และ 0 < |B| ≤ ℵ0 แล้ว |A × B| = c
แถมทิ้งท้าย เปลี่ยนเรื่องนิดนึง

ลองเอาการแปลงที่เคยพูดถึงแล้ว ในเรื่อง Discrete vs Continuous: ฟังก์ชัน เวกเตอร์ และเมตริกซ์ มาดูกันดีกว่า ว่า อันไหนมีโดเมนกับเรนจ์เป็นอะไรบ้าง (ขอละเว้นกรณีจำนวนเชิงซ้อน กับเงื่อนไขบางอย่าง ทิ้งไปก่อนนะ)
  • Discrete Fourier Transform
    ⇒D = {f | f:ZnR}, R = D
  • Fourier Series
    ⇒D = {f | f:[-L, L] → R}, R = {f | f:ZR}
  • Fourier Transformation
    ⇒D = {f | f:RR}, R = D
  • Generating Function
    ⇒D = {f | f:Z+R}, R = D
  • Z Transformation
    ⇒D = {f | f:Z+R}, R = D
  • Laplace Transformation
    ⇒D = {f | f:R+R}, R = D
หมายเหตุ: D อันนี้ กับ D ในเรื่อง Discrete vs Continuous: ฟังก์ชัน เวกเตอร์ และเมตริกซ์ มันคนละตัวกันนะ

2 Comments:

At 10/17/2005 2:36 AM, Anonymous Anonymous said...

ไม่ค่อย up space เลยเนอะ ไม่ค่อยเห็นเลย เป็นไงมั่งล่ะคุณ

 
At 10/17/2005 11:27 AM, Anonymous Anonymous said...

มาตามอ่านครับ

(แถวนี้มีคนประชด นั่งพิมพ์ยาวๆด้วยล่ะ)

 

Post a Comment

<< Home