Center of Mass & Centroid - บทแรก
วันนี้จะพูดถึง วิธีหา จุดศูนย์กลางมวล (Center of Mass) ... คิดว่าคงรู้จักกันอยู่แล้วนะว่ามันคืออะไร
ก่อนอื่น คิดว่าตอนเด็ก ๆ หลาย ๆ คนคงเคยเอากระดาษมาตัดเป็นรูป แล้วยึดจุดนึง ปล่อยมันห้อย ลากเส้นตามแนวดิ่งจากจุดยึด จากนั้นก็เปลี่ยนจุดแล้วทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จุดตัดของเส้นที่ลากหลาย ๆ เส้นเนี่ย มันก็จะเป็นจุด CM
แล้ววิธีคิดแบบที่ไม่ต้องไปห้อย ๆ เอาหละ ทำยังไง? สมมติเรารู้รูปร่างและตำแหน่งของวัตถุ แล้วเราจะหาจุดศูนย์กลางมวลมันได้มั้ย?
คำตอบก็คือ ... ไม่ได้ ครับ นอกจากเราจะกำหนด ความหนาแน่นของมวลต่อตำแหน่ง ซะก่อน ...
แล้วถ้าเรารู้แล้วหละ ... เราจะหามันได้ยังไง?
เริ่มจาก ... วัตถุที่เป็นจุด ๆ ก่อน ... สมมติว่าเรามีวัตถุอยู่ n ก้อน แต่ละอันมีมวล wi และอยู่ที่ตำแหน่ง ri (1 ≤ i ≤ n) เราก็จะรู้ว่า ... (จาก Discrete: ผลคูณภายใน และ การถ่วงน้ำหนัก)
rcm = R ⋅ w / α ⋅ w
เมื่อ w = (w1, w2, w3, ..., wn)
R = (r1, r2, r3, ..., rn)
และ α = (1, 1, 1, ..., 1)
เมื่อ w = (w1, w2, w3, ..., wn)
R = (r1, r2, r3, ..., rn)
และ α = (1, 1, 1, ..., 1)
rcm ที่ได้เนี่ย ก็คือ ตำแหน่งของจุดศูนย์กลางมวล ของกลุ่มวัตถุ นั่นเอง
ถ้าเราเขียนเวกเตอร์ในรูปของฟังก์ชันแทน ... สมมติให้โดเมนเป็น S ก็จะได้ว่า
rcm = R ⋅ w / α ⋅ w
เมื่อ w(x) = มวลของวัตถุก้อนที่ x
R(x) = ตำแหน่งของวัตถุก้อนที่ x
และ α(x) = 1
สำหรับทุก x ∈ S
เมื่อ w(x) = มวลของวัตถุก้อนที่ x
R(x) = ตำแหน่งของวัตถุก้อนที่ x
และ α(x) = 1
สำหรับทุก x ∈ S
นี่มันก็สูตรค่าเฉลี่ยธรรมดา ๆ แหละ :P ... แต่จริง ๆ มันพิเศษกว่านี้ได้นิดนึงนะ เพราะว่า ถ้า a ≠ b แล้ว เราจะรู้ว่า R(a) ≠ R(b) เราก็เลยสามารถเขียนใหม่ ให้มันหด ๆ ลงหน่อย ได้เป็น ... (ถ้าสงสัย ก็ถามมาใน comment ด้วยนะ)
rcm = x ⋅ w / α ⋅ w
เมื่อ w(x) = มวลของวัตถุที่ตำแหน่ง x
และ α(x) = 1
สำหรับทุก x ∈ S
เมื่อ w(x) = มวลของวัตถุที่ตำแหน่ง x
และ α(x) = 1
สำหรับทุก x ∈ S
ถ้าวัตถุของเราทุกชิ้น มีมวลเท่ากันหมด ซึ่งก็แปลว่า w(x) = 1 (หรือก็คือ w = α) เราจะเรียกจุดศูนย์กลางนี้ว่า Centroid สูตรก็คือ
rcentroid = x ⋅ α / α ⋅ α
เมื่อ α(x) = 1
สำหรับทุก x ∈ S
เมื่อ α(x) = 1
สำหรับทุก x ∈ S
สรุปสูตรแบ่งเป็นกรณี discrete กับ continuous นะ...
กรณี Discrete
ให้ S เป็นเซ็ตของจุดที่มีวัตถุอยู่
และ w(x) คือมวลของวัตถุที่จุด x
และ w(x) คือมวลของวัตถุที่จุด x
กรณี Continuous
ให้ S เป็นเซ็ตของจุดที่มีวัตถุอยู่
และ w(x) dS คือมวลของวัตถุที่จุด x
และ w(x) dS คือมวลของวัตถุที่จุด x
ทั้งสองสูตรนี้ เป็นสูตรที่เห็นได้ตามหนังสือทั่วไปเลยหละ
คราวหน้าจะมาดูกรณี polygon เป็นพิเศษนะ ... มันจะไปผูกกับ determinant นิดหน่อย
1 Comments:
เข้ามาบอกว่ายังอยู่
พึ่งมาไล่อ่านครับ
Post a Comment
<< Home