Thursday, October 06, 2005

แนะแนว GRE General Test นิดนึง

ผมเคยสอบ GRE ไปแล้ว แล้วก็คิดว่า มีหลาย ๆ อย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่อยากจะสอบ GRE ได้

ข้อมูลละเอียด สามารถไปดูได้ที่ http://www.gre.org/ นะ

ข้อมูลต่อไปนี้ มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ คนที่เรียนจบสาขาที่ต้องใช้เลขนะ คนอื่น ๆ ก็อ่านได้แต่อาจจะเป็นอันตรายนิดหน่อย :P แล้วก็ คนที่เก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้ว อาจจะรู้สึกว่า มันไม่น่าจะยากขนาดนั้นนี่นา 555

ข้อสอบ GRE เนี่ย แบ่งเป็น 2 แบบ คือ General Test กับ Subject Test วันนี้จะพูดถึงแต่ General Test นะ

ข้อสอบ GRE General Test จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
  1. Quantitative (เต็ม 800) - เลข
  2. Verbal (เต็ม 800) - คำศัพท์
  3. Analytical Writing (เต็ม 6) - ชื่อบอกอยู่แล้วอะ
ส่วน Quantitative ไม่พูดถึงนะ ถ้าได้ไม่เต็มก็เกือบเต็ม มาเจาะเรื่อง Verbal กันก่อน

Verbal

ข้อสอบ Verbal เป็น Choice ที่มี 5 ตัวเลือกนะ โจทย์จะมี 30 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 4 แบบ คือ
  1. Sentence Completion
  2. Reading Comprehension
  3. Analogy
  4. Antonym
โจทย์แต่ละแบบ มันจะมาสลับกันเรื่อย ๆ (คือ ไม่ได้เรียงเป็น Sentence Completion หมดก่อนแล้วค่อย Reading Comprehension อะไรเงี้ย) มาเจาะลึกกันดีกว่า ว่าแต่ละแบบมันเป็นไง

Sentence Completion

ชื่อค่อนข้างบ่งบอกนะว่าเป็นยังไง มันจะมีประโยคมาให้ แล้วก็มีช่องว่าง ให้เลือกเติมให้เหมาะสมหนะ โจทย์แบบนี้ (Sentence Completion อะ) ถือว่าง่ายที่สุดใน Verbal แล้ว เพราะเดาได้ มีข้อมูลให้เยอะสุด

ตัวอย่างเช่น (เอามาจาก Kaplan นะ ... แอบผิดกฎหมายนิดนึง :P)
Despite much informed ____, the relationship between sunspot cycles and the earth's weather remains ____.
A) argument . . . decisive
B) confusion . . . tenuous
C) conjecture . . . ambiguous
D) evidence . . . clear
E) analysis . . . systematic
ก็ ... ถ้าเราแปลออกทุกตัว มันก็คงไม่ยากหรอกเนอะ :D แต่จริง ๆ ไม่ต้องแปลออกหมดก็ตอบได้นะ choice เค้าค่อนข้างดี คือ ถ้าเจออันไหนฟังเข้าท่า ก็ไม่ต้องไปดูตัวอื่นหละ มันถูกแน่ ๆ (อันนี้ตอบข้อซีนะ)

Reading Comprehension

เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ แต่ว่า Reading Comprehension นี่ยากมากเลย ไม่หมูเหมือน TOEFL นะ แถมยังกินเวลามาก ๆ ด้วย เพราะถ้าโชคร้าย อาจจะต้องอ่านอะไรที่ยาวประมาณ 100 บรรทัดแคบ ๆ (ใครเคยสอบ TOEFL คงรู้แล้วว่าบรรทัดมันแคบ)

ข้อแนะนำสำหรับ part นี้ มีไม่มาก คือ พยายามทำเวลาหน่อย ในข้อสอบ Verbal จะมี Reading Comprehension ประมาณ 2-3 (มักจะเป็น 3) ชุด แต่ละชุดก็จะมีคำถาม 2-4 ข้อ ในห้องสอบมันจะมีนาฬิกาให้ดู ว่าเหลือกี่นาที ต้องลองคำนวณดูด้วยนะ ว่าทำช้าไปรึเปล่า

เพื่อให้คุ้นกับความยากของมัน ลองไปโหลดข้อสอบตัวอย่างมาดูสิ (เดี๋ยวเอา link ให้)

Analogy

โจทย์ Analogy เป็นคำศัพท์ล้วน ๆ เลย คงไม่ต้องอธิบายมากละกัน เอาโจทย์ให้ดูเลย (ผิดกฎหมายอีกแล้ว)
EXTORT : OBTAIN
A) plagiarize : borrow
B) pilfer : steal
C) explode : ignite
D) purify : strain
E) consider : appeal
choice มันก็จะดีเหมือนกันนะ คือ ไม่ (ค่อย) คลุมเครือ แบบว่า ถ้าเราเลือก "ความสัมพันธ์" ระหว่างคำถูก พอเอาไป "เสียบ" กับ choice มันจะได้ choice เดียว แล้วก็ ไม่มีแบบคิดลึกนะ พยายามอย่าคิดเกิน ต้องใช้ sense ด้วยนิดนึง (โจทย์ข้อนี้ ตอบข้อแรกนะ)

Antonym

Antonym มันก็แปลว่า คำศัพท์ที่มีความหมายตรงข้ามกัน อยู่แล้ว เอาตัวอย่างไปดู ...
VIVACITY:
A) animosity
B) efficacy
C) torpor
D) subtlety
E) tedium
โจทย์ Antonym นี่ โหดสุดเลย วัดความจำแท้ ๆ ... ไม่มีคำแนะนำอะไรนอกจาก ท่องศัพท์ไปเยอะ ๆ นะ (ข้อตัวอย่างนี่ ตอบข้อซีนะ)

Analytical Writing

ในการสอบ GRE นี่ ต้องเขียน 2 อันนะ คือ
  1. Issue Writing - 45 นาที
  2. Argument - 30 นาที
Issue Writing

อันนี้คล้าย ๆ กับโต้วาทีอะ คือ เค้าจะมีญัตติมาให้ แล้วเราจะเลือกเป็นฝ่ายเสนอ หรือฝ่ายค้าน วิธีเขียน ก็เหมือนกับใน TOEFL แหละ คือ เขียน ๆ ไปเถอะ แต่ใน GRE เค้าจะเน้นที่ความหมายมากกว่า Grammar ก็ใน GRE มันเรียกว่า Analytical Writing นี่นา

ตัวอย่างหัวข้อ ก็เช่น
"It is possible to pass laws that control or place limits on people's behavior, but legislation cannot reform human nature. Laws cannot change what is in people's hearts and minds."
สังเกตว่า มันมี 2 ประโยค เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยแยกประโยคกันก็ได้ เช่น เราจะเห็นด้วยกับประโยคแรก แต่ไม่เห็นด้วยกับประโยคที่สอง ก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องให้เหตุผลที่ฟังดูดี และ (เหมือนจะ) สมเหตุสมผล

วิธี organize โดยทั่วไป ก็เหมือน TOEFL คือ
  • ย่อหน้าแรก - เป็นบทนำ ควรจะบอกให้ชัดเจนไปเลยว่า เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แล้วอาจจะมี outline ว่าย่อหน้าต่อ ๆ ไปจะเกี่ยวกับอะไร (จะไม่มีก็ได้นะ)
  • ย่อหน้าต่อ ๆ ไป ประมาณ 2-4 ย่อหน้า - เป็นเหตุผลสนับสนุนความคิดเรา ควรจะมี 1 main idea ต่อย่อหน้า และ topic sentence ควรจะเป็นประโยคแรกหรือสุดท้าย (ไม่จำเป็นนะ แค่ "ควร") จริง ๆ จะเขียนเกิน 4 ก็ได้นะ ถ้ามีแรงพอ
  • ย่อหน้าสุดท้าย - เป็นสรุป ก็เหมือนพูดซ้ำอีกที ว่าทำไมเราถึงคิดอย่างที่เขียนไปในบทนำ
ตัวอย่างหัวข้อที่ ETS จัดให้ ไปดูได้ที่นี่นะ The Pool of Issue Topics เค้าบอกว่า จะออกสอบจากในนี้แหละ แต่อาจจะไม่เหมือนเด๊ะ

Argument Writing

อันนี้จะต่างกัน Writing ของ TOEFL ลิบลับเลย โจทย์มันคือ เค้าจะมีให้อ่านสั้น ๆ แล้วให้เราให้ความเห็นถึง วิธีการใช้เหตุผล ของผู้เขียน (หรือผู้พูด) เช่น
"Twenty years ago, one half of all citizens in Corpora met the standards for adequate physical fitness as then defined by the national advisory board on physical fitness. Today, the board says that only one quarter of all citizens are adequately fit and suggests that spending too much time using computers may be the reason. But since overall fitness levels are highest in regions of Corpora where levels of computer ownership are also highest, it is clear that using computers has not made citizens less physically fit. Instead, as shown by this year's unusually low expenditures on fitness-related products and services, the recent decline in the economy is most likely the cause, and fitness levels will improve when the economy does."
อ่าน ๆ ดูจะเห็นว่า มันมีบางอย่างไม่สมเหตุสมผลอยู่ ... เราก็ต้องเขียนเพื่อบอกว่า ตรงไหนไม่สมเหตุสมผล เช่น ยกตัวอย่างที่สอดคล้องกับ "หลักฐาน" แต่ขัดแยังกับ "ข้อสรุป" และถ้าเป็นไปได้ ก็แนะนำว่า ควรจะแก้ยังไงให้ดี

วิธี organize ก็เหมือนกัน แต่อันนี้จะง่ายกว่านิดนึงตรงที่ บทนำ กับ สรุป เนี่ย สามารถซ้อมไปได้ เพราะมันค่อนข้างจะไม่ขึ้นกับโจทย์

ส่วนเนื้อหาเนี่ย จะเกิดจากการ "จับผิด" เค้า เราจับผิดได้กี่จุด ก็จะมีจำนวนย่อหน้าเท่านั้น + 2 แต่ถ้าเราจับผิดได้มากเกินไป ก็เลือกเอาเฉพาะจุดที่สำคัญที่สุดมา ซัก 2-4 จุด ก็พอ
  • ย่อหน้าแรก - บทนำ ควรจะบอกว่า ที่เค้าเขียนมาเนี่ย มันยังไม่สมบูรณ์ (หรือเชื่อถือไม่ได้น่ะแหละ) เพราะว่า ใช้เหตุผลไม่ถูกต้อง หรืออะไรประมาณเนี้ย
  • ย่อหน้าต่อ ๆ ไปประมาณ 2-4 ย่อหน้า - ควรจะอธิบายจุดที่ผิดพลาด 1 จุด ต่อ 1 ย่อหน้า โดยขยายความ คล้าย ๆ ว่า ยกตัวอย่างที่สอดคล้องกับหลักฐาน แต่ขัดแย้งกับข้อสรุป อาจจะใช้วิธีสมมติหลักฐานใหม่ ที่ไม่ขัดแย้งกับหลักฐานเดิม แล้วทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับบทสรุปก็ได้ แล้วก็ถ้าเป็นไปได้ ควรจะบอกด้วยว่า ข้อผิดพลาดนี้ น่าจะแก้ได้ด้วยวิธีอะไร
  • ย่อหน้าสุดท้าย - สรุป เนี่ย ท่องได้เลย ความหมายควรจะประมาณว่า ... In sum, if all the flaws are fixed as described, this argument will become logically valid. แต่อาจจะเขียนยาวกว่านี้ เช่น ย้ำอีกทีว่า flaw มันมีอะไรบ้าง หรือ ควรจะแก้อะไรบ้าง
ตัวอย่าง Argument ที่ ETS จัดให้ ไปดูได้ที่นี่นา The Pool of Argument Topics

Link จ้า

สมัครแบบ on-line ได้เลยที่ http://www.gre.org/ นะ
แล้วก็ โปรแกรมเตรียมสอบ (จริง ๆ ก็ไปโหลดได้จากใน http://www.gre.org/ น่ะแหละ)



สรุปคำศัพท์

animosity [n] = ความเป็นศัตรู → animus [n] = animosity
extort [v] = รีดไถ → extortion [n]
pilfer [v] = จิ๊ก, ขโมย (เล็ก ๆ น้อย ๆ) → pilferage [n]
plagiarize [v] = ขโมยคำพูด/งานเขียน/ทรัพย์สินทางปัญญา
subtle [adj] = เ้ข้าใจยาก | เก่ง | เจ๋ง → subtlety [n]
tedium [n] = ความน่าเบื่อ, ความน่าเหนื่อยหน่าย → tedious [adj]
tenuous [adj] = (ปริมาณ) น้อย | เล็กน้อย, ไม่สำคัญ → tenuity [n]
torpor [n] = ความเฉื่อยชา → torpid [adj]
vivacity [n] = ชีวิตชีวา → vivacious [adj]

15 Comments:

At 10/06/2005 10:38 PM, Blogger peam said...

เฮ้อ อยากจะบอกว่า ไอ้คนที่เขียนแล้วได้ 6 ใน argument writing ใน 45นาทีเนี่ย ให้เวลาผม 10 วันยังเขียนไม่ได้ดีเท่าเลย
สู้ไม่ได้ทั้งความคิดวิเคราะห์และศิลป์ทางภาษาครับ

ล้มเลิกแล้วครับ GRE ไม่สอบแล้ว

 
At 10/07/2005 4:10 AM, Anonymous Anonymous said...

คนที่เก่งอังกฤษคงคิดว่า GRE ง่าย - งั้นเราคงไม่เก่งล่ะสินะ อิอิ โดยเฉพาะ part ศัพท์ ตอบผิดด้วยแหละ (มั่วเอา)...

ส่วน writing เนี่ย ถามไรหน่อยสิ ทำไมต้องบอกไปเลยว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ในเมื่อมันเป็น argument ที่ไม่มี "ถูก" หรือ "ผิด" ..เราจะบอกว่า เราเห็นด้วย 'to a certain extent' หรือว่า 'depending on the definition of the word .... ' ไม่ได้เหรอ?? เช่น สมมติในกรณีนี้ เราอาจจะบอกว่า "กฎหมายไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงคนได้โดยตรง แต่กฎหมายสามารถใส่ moral value เข้าไปยังสังคมได้ และเป็นการ set มาตรฐานของ moral ให้สูงขึ้น กล่าวคือทำหน้าที่คล้ายๆกับศาสนา ที่สามารถค่อยๆเปลี่ยนความคิดของคนบางคนได้ ไม่ช้าก็เร็ว ซึ่งเรียกว่า ขบวนการขัดเกลาทางสังคมนั่นเอง แต่ในขณะเดียวกัน คนบางคนก็ไม่ยอมรับใน value อันนี้ และยังคงยืนยันความคิดเดิมของตัวเอง และทำตัวเลวต่อไป ดังนั้นคำตอบก็คือ ขึ้นกับปัจเจกบุคคลนั้น.." (อะไรประมาณนี้ โทษทีที่ต้องใช้ไทยปนอังกฤษเพราะนึกคำไทยไม่ออก ^^) ... ซึ่งมันเป็นโจทย์ที่ต้องอาศัย argument สองข้างน่ะ... ถ้าตอบแบบเถียงไปข้างเดียวแบบนี้ ไปเรียนจริงๆ (วิชาสายสังคม) สอบตกแน่ๆ เอิ๊กๆๆๆๆๆ

 
At 10/07/2005 4:17 PM, Blogger Tunococ said...

ปกติเราบอกว่า P(x) มันก็แปลว่า ∀x[P(x)] อยู่แล้ว (x ไม่ใช่ค่าคงที่นะ ไม่งั้นเขียน ∀x ไม่ได้) ดังนั้น เรารวมกรณีที่ว่า "ขึ้นอยู่กับนิยาม" ในกรณีไม่เห็นด้วยไปแล้วนะวาว

 
At 10/07/2005 4:18 PM, Blogger Tunococ said...

อ้อ แล้วก็ จริง ๆ อะ การเห็นด้วยบางประโยค เราก็รวมอยู่ในกรณี "ไม่เห็นด้วย" เหมือนกัน

 
At 10/07/2005 11:54 PM, Blogger JoopIE said...

ตั้งแต่เข้า blog นี้มาก็เห็นว่าไอ้เรื่องนี้เราอ่านเข้าใจสุดแล้วอ่ะ

 
At 10/08/2005 5:07 AM, Anonymous Anonymous said...

แล้วถ้าเป็น 'agree to a certain extent' ล่ะ?

 
At 10/10/2005 12:42 AM, Blogger Tunococ said...

ไอ้ agree to a certain extent อะ มันก็แปลว่า ไม่ใช่ ∀x[P(x)] ไง มันก็รวมอยู่ในไม่เห็นด้วยแล้ว

 
At 10/10/2005 12:43 AM, Blogger Tunococ said...

สรุปแล้ว ... ส่วนใหญ่ เราจะเลือก ไม่เห็นด้วยกับ ∀x[P(x)] หละ

 
At 10/10/2005 11:56 PM, Anonymous Anonymous said...

ตอนแรกเข้ามาดูกระทุ้นี้เอ๊ !? ทำไมคนมา post เยอะจังนะ เหมือนของตาซันเลย แต่พอเข้ามาดูปรากฎว่าขวัญตอบไปซะสี่กรอบข้อความเสียเลย โฮ๊ะๆ :P

 
At 5/20/2008 10:19 PM, Anonymous Anonymous said...

โห น้องคนที่มาเขียน ... พี่ขอบใจจริงๆๆน้อง พี่ไม่เคยรู้เลย แต่ต้องสอบ ถ้ายังไง พี่เขียนถามน้องได้มั้ย
ขอบใจมากน้อง

 
At 5/21/2008 1:40 AM, Blogger Tunococ said...

ก็ได้แหละครับ โชคดีครับ

 
At 7/25/2008 10:09 PM, Blogger Unknown said...

ถ้าท่องศัพท์ไม่ทันเเล้ว ควรจะอ่านเลขเรื่องอะไรบ้างคะ

 
At 7/26/2008 2:31 AM, Blogger Tunococ said...

เลขของ GRE ส่วนใหญ่จะไม่เกินระดับม.ต้นน่ะครับ ผมว่าไปลอง ๆ ทำข้อสอบทดลองดู ก็จะเห็นแนวเองครับ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอ ๆ กัน ไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่เป็นทำไม่ทันมากกว่า ต้องบริหารเวลาให้ดี ๆ หน่อย

 
At 10/01/2008 9:22 PM, Anonymous Anonymous said...

อยากทราบว่าถ้ามีเหตุให้ต้องเลื่อนสอบGRE
ต้องทำยังไงบ้างคะ
แบบว่ากำลังร้อนใจมั๊กๆๆเรยค่ะ
ช่วยตอบทีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 
At 10/02/2008 12:47 AM, Blogger Tunococ said...

อ่าว ... กรณีนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันน่ะครับ ไม่เคยศึกษา

 

Post a Comment

<< Home