Discrete vs Continuous: สมการผลต่างและสมการอนุพันธ์
หลุดจากหัวข้อนี้ไปนาน ยังไม่ลืมหรอกนะ :D ... ขอโทษอีกทีที่ไม่ได้ update ทุกวันนะ ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาได้ต่อเน็ตหนะ
Continuous
เริ่มเลยละกันนะ ... สมมติว่า y เป็นฟังก์ชันของ x ก่อน แล้วก็ มี สมการอนุพันธ์ (Differential Equation) ต่อไปนี้
y' = f(x)
เราก็จะสามารถหา y(x) ได้เท่ากับ
y = ∫k≤t<x f(t) dt + c
เมื่อ k กับ c เป็นค่าคงที่
Discrete
ในลักษณะเดียวกัน ถ้าเรามี สมการผลต่าง (Difference Equation) ต่อไปนี้
Δy = f(x)
ค่า y(x) ก็จะหาได้จาก
y = Σk≤t<x f(t) δt + c
เหมือนกัน
Continuous
คราวนี้ สมมติว่า D = d/dx ... สมการอนุพันธ์ แบบต่อไปที่แก้ง่าย ๆ ก็จะมีหน้าตาประมาณนี้ (เอาดีกรี 2 ก่อนนะ)
D2y + aDy + by = 0
เมื่อ a และ b เป็นค่าคงที่
วิธีแก้สมการนี้ ก็ทำได้ง่าย ๆ โดยการคาดคะเนว่า รูปของคำตอบจะเป็น y = emx แล้วแทนค่าลงไป ผลลัพธ์ก็คือ ...
(m2 + am + b)y = 0
เนื่องจาก เราไม่ต้องการคำตอบที่ว่า y ≡ 0 ก็เลยเอา y ออกไปได้ กลายเป็นสมการนี้ ...m2 + am + b = 0
สมการพหุนามกำลังสองอันนี้ จะมีคำตอบ m อยู่สองค่า สมมติให้เป็น m1 กับ m2 นะ
ถ้า m1 ≠ m2 จะได้คำตอบของสมการอนุพันธ์เป็น
y = c1em1x + c2em2x
แต่ถ้า m1 = m2 จะได้คำตอบเป็น
y = c1em1x + c2xem1x
Discrete
ในลักษณะเดียวกัน ถ้าเรามี สมการผลต่าง ต่อไปนี้
Δ2y + aΔy + by = 0
เราจะพยายามเดารูปคำตอบ ที่ทำให้ Δy = my ...
เริ่มจาก
Δax = (a - 1) ax
เราก็สมมติให้ m = a - 1 และ y = (m + 1)x จะเห็นว่า
y = (m + 1)x
Δy = m (m + 1)x = my
Δ2y = m2 (m + 1)x = m2y
Δy = m (m + 1)x = my
Δ2y = m2 (m + 1)x = m2y
คราวนี้ พอแทนค่ากลับลงไปในสมการดั้งเดิม ก็จะได้
m2 + am + b = 0
สมการนี้ เหมือนกับในกรณี Continuous เด๊ะเลย (ก็เราจงใจให้มันเป็นงี้หนิ) ถ้าแก้สมการออกมาจะได้ 2 คำตอบ สมมติให้เป็น m1 กับ m2 นะ
ถ้า m1 ≠ m2 จะได้คำตอบของสมการผลต่างเป็น
y = c1(m1 + 1)x + c2(m2 + 1)x
แต่ถ้า m1 = m2 จะได้คำตอบเป็น
y = c1(m1 + 1)x + c2x(m1 + 1)x
Discrete: Recurrence Relation
หลาย ๆ คนคงจะคุ้นเคยกับลำดับ Fibonacci นี่นะ
an+2 = an+1 + an
คราวนี้ ถ้าเราเปลี่ยนหน้าตาตัวแปรซักนิด ให้ n → x แล้วก็ให้ a → y จะเห็นว่า
y(x + 2) = y(x + 1) + y(x)
หรือ ถ้าเขียนใหม่อีกนิดนึงด้วยตัว E จะเป็น
E2y = Ey + y
E2y - Ey - y = 0
E2y - Ey - y = 0
หน้าตามันคล้าย ๆ กับสมการผลต่างเลยนะเนี่ย ... งั้น เดี๋ยวเราจะลองแก้สมการนี้เลยดีกว่า
E2y + aEy + by = 0
ถ้าให้ a = b = -1 ก็จะเป็นความสัมพันธ์ Fibonacci นั่นแหละ
คราวที่แล้ว เราเดารูปคำตอบที่ทำให้ Δy = my ... คราวนี้ ลองเดาให้ Ey = my สิ ... ดูมันจะง่ายกว่าเมื่อกี๊อีกนะเนี่ย เพราะว่า
Eax = a⋅ax
ถ้าให้ m = a และ y = ax เราจะได้ความสัมพันธ์ต่อไปนี้
Ey = my
E2y = m2y
E2y = m2y
แทนกลับลงไปในสมการตั้งต้น จะได้
m2 + am + b = 0
เห็นมาสามรอบละ ... สมมติว่า รากทั้งสองของสมการนี้คือ m1 กับ m2 เราก็จะสรุปได้คล้าย ๆ เดิม คือ
ถ้า m1 ≠ m2 จะได้คำตอบของสมการดั้งเดิมเป็น
y = c1m1x + c2m2x
แต่ถ้า m1 = m2 จะได้คำตอบเป็น
y = c1m1x + c2xm1x
รู้สึกว่า หน้าตามันจะคล้ายกับกรณี continuous มากขึ้นนิดนึงเนอะ
Laplace Transformation
แถมนิดนึงละกัน เพราะว่า Laplace Transformation ก็เป็นเครื่องมืออย่างนึง สำหรับแก้สมการอนุพันธ์
หลักการก็คือ แปลงสมการเริ่มต้นด้วย Laplace Transformation ทีนึง แก้หาคำตอบในโดเมนใหม่ แล้วแปลงกลับด้วย Inverse Laplace Transformation
ตามความนิยม ตัวแปร x ที่เราใช้ ๆ กันเมื่อกี๊ เค้ามักจะเขียนด้วยตัว t แทนนะ เวลาพูดถึง Laplace Transformation หนะ
t domain differential equation
↓ L Transform ↓
s domain polynomial equation
↓ Solving ↓
s domain solution
↓ L-1 Transform ↓
t domain solution
↓ L Transform ↓
s domain polynomial equation
↓ Solving ↓
s domain solution
↓ L-1 Transform ↓
t domain solution
นิยามของ Laplace Transformation ของฟังก์ชัน f(t) ก็คือ
L[f(t)] = F(s) = ∫0≤t<∞ f(t) e-st dt
Z Transformation
Z Transformation ก็คือ Laplace Transformation ในภาคไม่ต่อเนื่องน่ะแหละ มันเอาไว้แก้สมการ E ได้ วิธีทำก็เหมือนกันเลย แต่นิยามต่างกันนิดนึง คือ
Z[f(t)] = F(z) = Σ0≤t<∞ f(t) z-t
ที่ใช้ตัว z ก็เพราะความนิยมเหมือนกันอะนะ จริง ๆ จะเขียนเป็น s ก็ได้
Generating Function
ด้วยความนิยมอีกด้านนึง Generating Function ถูกสร้างขึ้นมาจากคนละทิศทางกับ Z Transformation แต่ไป ๆ มา ๆ มันก็คืออันเดียวกันน่ะแหละ แค่มีการเปลี่ยนหน้าตานิดหน่อย คือ
G[f(t)] = F(s) = Σ0≤t<∞ f(t) st
มันต่างกับ z แค่ว่า เลขชี้กำลังของ s มันเป็น +t แต่เลขชี้กำลังของ z มันเป็น -t ซึ่งถ้าให้ s = 1/z มันก็จะเหมือนกันเด๊ะเลย
ดังนั้น วิธีใช้งาน Generating Function กับ Z Transformation ก็เลยเหมือนกันทุกประการ
และ ... แนวคิดนี้ มันก็แนะนำเราว่า ถ้าเราให้ s' = 1/s ใน Laplace Transformation มันก็จะใช้งานได้เหมือนกันนะ
1 Comments:
นับวันรอ??
Post a Comment
<< Home