Sunday, September 04, 2005

เรื่องดนตรี - ตัวโน้ต และ โน้ตคู่

ต่อละกัน สองครั้งที่แล้วพูดถึง Pitch กับ Pitch Class คราวนี้ขอร่ายยาวเรื่องโน้ตคู่นะ

คำว่า "ตัวโน้ต" จริง ๆ แล้วมีคุณสมบัติหลายอย่างนะ ทั้งความถี่ ความยาว ความดัง คุณภาพเสียง ฯลฯ แต่ในคราวนี้จะพูดถึงเฉพาะ "ความถี่" นะ

แล้วมันต่างอะไรกับ Pitch? ... จริง ๆ มันไม่ใช่แค่ความถี่หรอกที่เราสนใจ ... เอาเป็นว่า ดูนิยามอันนี้ละกัน

ตัวโน้ต N = (อักษร C D E F G A หรือ B, octave, modulation)

ค่า pitch ของ N (เขียนแทนด้วย |N|P) จะได้จากการเอาตัวอักษรกับเลข octave มาต่อกัน (ได้เป็น pitch) แล้วบวกด้วย modulation ซึ่งมีค่าได้ตั้งแต่ -1 ถึง 1 เช่น

|(C, 4, 0.5)|P = C4 + 0.5 = C#4

จะเห็นว่า |(C, 4, 0.5)|P = |(D, 4, -0.5)|P แต่ (C, 4, 0.5) ≠ (D, 4, -0.5) (เปรียบเทียบแบบคู่อันดับน่ะ มันจะไม่เท่ากันตั้งแต่ C ≠ D แล้ว)

คราวนี้ ... เพื่อให้สะดวกต่อการเขียนและพูดถึงต่อ ๆ ไป จะกำหนดวิธีเขียน "ตัวโน้ต" ย่อ ๆ แบบนี้

Z#n = (Z, n, 0.5)
Zbn = (Z, n, -0.5)
Zxn = (Z, n, 1)
Zbbn = (Z, n, -1)
เมื่อ Z = C D E F G A หรือ B
และ n เป็นจำนวนเต็ม

ตอนนี้สัญลักษณ์นึงของเรา (เช่น C4#) มี 2 ความหมายแล้วนะ คือ pitch กับ ตัวโน้ต (C4# = (C, 4, 0.5)) ต่อจากนี้ ถ้าจะพูดถึง pitch ของตัวโน้ต N จะเขียนแทนด้วย |N| นะ จะได้แบ่งแยกกันชัด ๆ ไม่คลุมเครือ

Clef Pitch

ก่อนจะพูดถึงโน้ตคู่ ต้องนิยามอะไรอีกอย่างนึงก่อน
clef pitch เป็นคุณสมบัติของตัวโน้ต (X, O, M) มีค่าเท่ากับ
|(X, O, M)|C = 7 ⋅ O + ค่าประจำตัวอักษร X

ซึ่งค่าประจำตัวอักษรก็คือ




ตัวอักษรค่าประจำตัวอักษร
C0
D1
E2
F3
G4
A5
B6

ถึง M จะเปลี่ยนเป็นค่าอะไรก็ตาม |(X, O, M)|C ก็จะมีค่าเท่าเดิมถ้า X กับ O ไม่เปลี่ยน

ถ้าจะพูดให้ง่าย ๆ clef pitch ก็คือ ตำแหน่งของหัวตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นน่ะแหละ งงมั้ย? ... เอาตัวอย่างละกัน

|C4|C = 7 ⋅ 4 + 0 = 28
|E2bb|C = 7 ⋅ 2 + 2 = 16
|F5x|C = 7 ⋅ 5 + 3 = 38

โน้ตคู่

กำหนดให้ N1 = (X1, O1, M1) และ N2 = (X2, O2, M2) เป็นตัวโน้ตสองตัว (อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้) เราจะเรียกคู่อันดับ (N1, N2) ว่าเป็นโน้ตคู่ |N2|C - |N1|C + 1

ตัวอย่างเช่น

(E4, A4#) เป็นโน้ตคู่ 4
(A4#, E5) เป็นโน้ตคู่ 5
(C0, C1) เป็นโน้ตคู่ 8

โดยทั่วไปเราจะถือว่า โน้ตคู่มีนิยามเฉพาะกรณีที่ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มบวก

โน้ตคู่เพอร์เฟกต์ (Perfect Interval)

กำหนดให้ N1 = (X1, O1, M1) และ N2 = (X2, O2, M2) เป็นตัวโน้ตสองตัว เราจะเรียก (N1, N2) ว่าเป็นโน้ตคู่เพอร์เฟกต์ก็ต่อเมื่อ
1. |N2|C - |N1|C ≡ 0, 3 หรือ -3 (mod 7)
2. |N2|P - |N1|P ≡ 0, 2.5 หรือ -2.5 (mod 6)
ตามลำดับ (หมายถึง ต้องเป็นคู่ที่ตรงกันในลำดับ เช่น ถ้าในข้อ 1 เป็น 3 ในข้อ 2 ก็ต้องเป็น 2.5 ถึงจะเรียกว่า โน้ตคู่เพอร์เฟกต์)

อันนี้จะเริ่มคิดยากแล้วหละ ตัวอย่างโน้ตคู่เพอร์เฟกต์นะ

(C4, F4), (C3, G3), (C2, C3), (F3, B3b), (G1#, D2#), (A5bb, D6bb)

คิดเล่น ๆ (ควรจะรู้ว่าเป็นจริงนะ):
1. พิสูจน์ว่า (N, N) เป็นโน้ตคู่เพอร์เฟกต์
2. พิสูจน์ว่า ((X1, O, M
1), (X2, O, M2)) เป็นโน้ตคู่เพอร์เฟกต์ก็ต่อเมื่อ ((X2, O, M2), (X1, O + 1, M1)) เป็นโน้ตคู่เพอร์เฟกต์

โน้ตคู่เมเจอร์ (Major Interval)

กำหนดให้ N1 = (X1, O1, M1) และ N2 = (X2, O2, M2) เป็นตัวโน้ตสองตัว เราจะเรียก (N1, N2) ว่าเป็นโน้ตคู่เมเจอร์ก็ต่อเมื่อ
1. |N2|C - |N1|C ≡ 1, 2, -1 หรือ -2 (mod 7)
2. |N2|P - |N1|P ≡ 1, 2, -0.5 หรือ -1.5 (mod 6)
ตามลำดับ

นิยามมันคล้าย ๆ กับโน้ตคู่เพอร์เฟกต์แหละ แต่เลขมันต่างกัน
ลองดูตัวอย่างโน้ตคู่ที่เป็นเมเจอร์นะ...

(C3, D3), (C0, E4), (C1, A3), (C2, B2), (B4, G5#), (A2b, G4)

โน้ตคู่ไมเนอร์ (Minor Interval)

กำหนดให้ N1 = (X1, O1, M1) และ N2 = (X2, O2, M2) เป็นตัวโน้ตสองตัว เราจะเรียก (N1, N2) ว่าเป็นโน้ตคู่ไมเนอร์ก็ต่อเมื่อ
1. |N2|C - |N1|C ≡ 1, 2, -1 หรือ -2 (mod 7)
2. |N2|P - |N1|P ≡ 0.5, 1.5, -1 หรือ -2 (mod 6)
ตามลำดับ

อันนี้ก็คล้ายนิยามของโน้ตคู่เมเจอร์ ต่างกันที่ตัวเลขในเงื่อนไขที่ 2 (ลองเปรียบเทียบกับกรณีของเมเจอร์ดูสิ)

เอาตัวอย่างละกัน
(C3, D3b), (C0, E4b), (C1#, A3), (C2, B2b), (B4, G5), (A2, G4)

คิดเล่น ๆ (ควรจะรู้ว่าเป็นจริงอีกแล้ว):
1. พิสูจน์ว่า ((X1, O, M1), (X2, O, M2)) เป็นโน้ตคู่เมเจอร์ (ไมเนอร์) ก็ต่อเมื่อ ((X2, O, M2), (X1, O + 1, M1)) เป็นโน้ตคู่ไมเนอร์ (เมเจอร์)
2.
พิสูจน์ว่า ((X1, O, M1), (X2, O, M2)) เป็นโน้ตคู่ไมเนอร์ก็ต่อเมื่อ ((X1, O, M1), (X2, O, M2 + 0.5)) เป็นโน้ตคู่เมเจอร์

ตอนนี้พอแค่นี้ก่อนละกัน ยาวแล้ว ... คราวหน้าจะมาต่อเรื่องชนิดของโน้ตคู่อีก 2 ชนิดนะ ชื่อว่า Augmented กับ Diminished

10 Comments:

At 9/05/2005 9:52 AM, Blogger peam said...

อยากรู้ว่ามันเพอเฟคยังงัยอ่ะ
ทำไม ชื่อเพอเฟค (ฟังแล้วดูหรูเริดเหรอ) ทำมัยชื่อเมเจอร์ (ประมาณว่าเด่นเหรอ ฟังแล้วคึก?) ทำมัยชื่อไมเนอร์ (ประมาณว่าใช้ในแพลงเพื่อแสดงถึงความน้ำเน่าหรือปล่าว?)

 
At 9/05/2005 10:28 PM, Anonymous Anonymous said...

เคยเข้าใจ Major Minor แต่พอมาเจอแบบนี้ ถึงกับนั่งอึ้งไปนานมาก

 
At 9/05/2005 11:28 PM, Anonymous Anonymous said...

ไม่ไหวแล้ว แบบนี้ รับไม่ได้อ่า อ่านไม่รู้เรื่องง่ะ

 
At 9/05/2005 11:39 PM, Anonymous Anonymous said...

เอ่อ อ่านไป 2 รอบ รูเรื่องล่ะ แต่...... คนมราไม่มีความรู้คณิตศาสตร์ จะอ่านรู้เรื่องมั้ยอ่ะ

 
At 9/06/2005 12:38 AM, Anonymous Anonymous said...

แบบแว่...กรี๊ด กรี๊ด กรี๊ด (สมองอันน้อยนิดของข้าพเจ้า รับมันไม่ไหว)

 
At 9/07/2005 12:31 AM, Blogger Tunococ said...

เดี๋ยวมีภาคต่อแน่นอน โปรดติดตาม :D

 
At 9/25/2005 3:49 PM, Blogger peam said...

จะเห็นว่า |(C, 4, 0.5)|P = |(D, 4, 0.5)|P แต่ (C, 4, 0.5) ≠ (D, 4, -0.5) (เปรียบเทียบแบบคู่อันดับน่ะ มันจะไม่เท่ากันตั้งแต่ C ≠ D แล้ว)

ตกเครื่องหมายลบไปตัวน่ะ

 
At 9/25/2005 11:12 PM, Blogger Tunococ said...

อ่อ ครับ ๆ แก้ให้ครับ

 
At 9/02/2006 11:19 AM, Anonymous Anonymous said...

งึม...

ไอ้พวกตัวห้อยใน firefox มันดูไม่ค่อยออกเลยอ่ะ
ต้องเปิดใน IE อย่าง |N|_c เงี้ย ดูใน firefox ต้องเพ่ง ๆ เอา

 
At 9/04/2006 2:59 AM, Blogger Tunococ said...

แก้ไงอ่า...

พี่ขยาย ๆ ตัวอักษรเอาละกัน :P

 

Post a Comment

<< Home