Saturday, September 03, 2005

Discrete vs Continuous: ผลต่างกับผลบวก vs อนุพันธ์กับอินทิกรัล

ตอนแรกกะจะให้เรื่องเป็นตอนที่ 3 ของ 1 + 4 + 9 + 16 + ... แต่คิดไปคิดมา เปลี่ยนชื่อดีกว่า เดี๋ยว series นั้นจะไปต่อเป็นอีกแนวนึงนะ แต่ไม่อยู่ใน Discrete vs Continuous แล้วหละ

เดี๋ยวจะแสดงวิธีหาผลบวกง่าย ๆ ให้ดู ตอนนี้ขอนิยามสัญลักษณ์ก่อน (ตาม Knuth นะ)

xn = x(x - 1)(x - 2)...(x - n + 1)

เช่น 103 = 10 ⋅ 9 ⋅ 8

คราวนี้ ลองหาค่า Δxn ดูนะ (เอาตัวแปร x เป็นตัววิ่ง ทั้งในการหาผลต่างกับการหาอนุพันธ์เลยนะ)

Δxn = (x + 1)n - xn
Δxn = [(x + 1) - (x - n + 1)]xn - 1 = nxn - 1

หน้าตามันคุ้น ๆ มั้ย?... เหมือนกับ (xn)' = nxn - 1 ไง

จากตอนที่แล้ว เราจะรู้ว่า

Σ Δf(x) δx = f(x) + c

ดังนั้น

Σ nxn - 1 δx = xn + c

หรือก็คือ

Σ xn δx = xn + 1 / (n + 1) + c

หน้าตาจะคล้าย ๆ กับ

∫ xn dx = xn + 1 / (n + 1) + c

เอาหละ มาลองประยุกต์ใช้ดู

โจทย์เดิมแหละนะ เราอยากจะหาสูตรของ 12 + 22 + 32 + ... + n2

กำหนดให้ f(x) = x2 ก่อน
คราวนี้แปลงให้อยู่ในรูปเลขยกกำลังมีขีดข้างล่าง จะได้ว่า

f(x) = x2 + x

เสร็จแล้วก็เริ่มเลย ลองหาค่า Σ f(x) δx ดู

Σ x2 δx = Σ x2 δx + Σ x δx

= (1/3)x3 + (1/2)x2 + c

= (1/3)x(x - 1)(x - 2) + (1/2)x(x - 1) + c

= x(x - 1)[(1/3)(x - 2) + (1/2)] + c

= x(x - 1)(2x - 1)/6 + c

จะเห็นว่าได้สูตรเดียวกับครั้งที่แล้วนะ แต่ว่าคราวนี้คิดตรง ๆ เลย

คราวหน้าจะมาต่อเรื่องเทคนิคการหาผลบวก ... คล้าย ๆ กับเทคนิคการอินทิเกรตแหละ แต่ไม่มีกฎลูกโซ่นะ

1 Comments:

At 9/03/2005 10:37 PM, Anonymous Anonymous said...

อยากอ่านศัพท์เทพๆครับ!!

 

Post a Comment

<< Home