คนชอบ คนไม่ชอบ ...
คนที่ชอบเรา = คนที่พอใจในสิ่งที่เราทำ
คนที่ไม่ชอบเรา = คนที่ไม่พอใจในสิ่งที่เราทำ
คนที่รู้สึกเฉย ๆ กับเรา = คนที่ไม่คิดว่าต้องสนใจการกระทำของเรา
คนที่ไม่ชอบเรา = คนที่ไม่พอใจในสิ่งที่เราทำ
คนที่รู้สึกเฉย ๆ กับเรา = คนที่ไม่คิดว่าต้องสนใจการกระทำของเรา
ระดับความพอใจที่ X รู้สึกต่อ Y
- ความพอใจจากประสบการณ์ตรง: Y ช่วย X
- ความพอใจจากการวิเคราะห์: X รู้สึกว่า Y ทำสิ่งที่ X เห็นว่าดี
- เป็นที่พี่งทางใจ
- ช่วยแก้ปัญหา
- ให้เงิน
- ซ่อมถนนแถวบ้าน
- พัฒนาชุมชนแถบใกล้เคียง
- ฯลฯ
- ทำให้คนทั้งโลกมีความสุขมากขึ้น
- ทำให้คนหลาย ๆ คน รวยขึ้น
- ทำให้คนที่เราไม่ชอบ เสียหาย
- ปราบยาเสพติดได้
- สร้างงานให้ชนชั้นล่าง
- ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
- ฯลฯ
ความพอใจของคนหมู่มาก
มันเป็นเรื่องปกติที่ เราไม่สามารถสร้างประสบการณ์ตรงกับคนหมู่มาก (เช่น ทั้งประเทศ) ได้ วิธีที่จะทำให้คนส่วนใหญ่พอใจเรา ก็คือ การให้ข้อมูล
เพื่อที่จะให้ข้อมูลด้านดีของเรา ไปถึงคนส่วนใหญ่ได้ เราก็ควรจะควบคุมสื่อของข้อมูล ที่เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ (เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ)
วิธีควบคุมสื่อที่เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ ก็มีมากมายหลายอย่าง เช่น
- เป็นเจ้าของสื่อเอง
- ควบคุมสื่ออื่นทางตรง (ซื้อ)
- ควบคุมผู้ที่ทำงานให้สื่ออื่น
ใช้คนที่เราควบคุมได้ ไปเผยแพร่ข้อมูล (ที่อาจจะไม่จริง) เพื่อให้คนกลุ่มใหญ่พอใจ
ข้อมูลดึงอารมณ์
วิธีการสร้างข้อมูลสนับสนุนหรือบ่อนทำลาย มักจะเน้นที่การดึงอารมณ์ ตัวอย่างการสร้างภาพขอความเห็นใจ เช่น
- กลุ่มคนที่บ้าคลั่ง กำลังด่าทอ สาปแช่งเรา
- เด็ก คนแก่ คนป่วย คนพิการ คนจน มาให้กำลังใจเรา
ประชาธิปไตย
ประเด็นสำคัญของประชาธิปไตยก็คือ จำนวนคนที่ชอบเรา ดังนั้น วิธีที่กล่าวไว้ จึงเป็นวิธีที่นักการเมือง ในประเทศประชาธิปไตย นิยมมากที่สุด
แล้ว สิ่งที่ประชาชนควรกระทำหละ?
โดยอุดมคติแล้ว หน้าที่ของประชาชนก็คือ วิเคราะห์ประสบการณ์และข้อมูลต่าง ๆ แล้วตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ
แต่ ถ้าทุกคนคิด "ถูกต้องที่สุด" เหมือนกัน (และสิ่งที่ถูกต้องที่สุดมีเพียงหนึ่งเดียว) การเลือกตั้งทุกครั้งก็คงจบลงที่ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ได้คะแนนไม่เป็นศูนย์
แน่นอนว่า สิ่งนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ เพราะสิ่งที่ "ถูกต้องที่สุด" มันไม่มีนิยามที่ชัดเจน แต่ละคนก็จะมองแตกต่างกัน สิ่งที่ประชาชนพอจะทำได้ก็คือ พยายามเลือกสิ่งที่ "น่าจะถูกต้องที่สุด" ซึ่งตัวเลือกของแต่ละคน ก็มีสิทธิ์ที่จะแตกต่างกัน
สรุปก็คือ เราควรจะถามตัวเองเสมอ ๆ ด้วยเหตุผล เพื่อเตือนตัวเองให้ตัดสินใจใกล้เคียง "อุดมคติ" มากที่สุด ตัวอย่างคำถามก็เช่น
- ถ้าเราพอใจ X จากประสบการณ์จริง แสดงว่า X ทำเช่นเดียวกันกับผู้อื่นหรือไม่?
- ถ้าเราพอใจ X จากประสบการณ์จริง ผู้อื่นจะพอใจกับประสบการณ์แบบเดียวกันหรือไม่?
- ข้อมูลเกี่ยวกับ X ที่เราได้รับ มีโอกาสเป็นจริงหรือเท็จมากแค่ไหน?
- เรามีอคติหรือไม่ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ X?
- ถ้าเราพอใจข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับ X ผู้อื่นจะพอใจข้อมูลเดียวกันนี้หรือไม่?
- ฯลฯ
ผู้สนับสนุนส่วนเกิน
คนที่เชี่ยวชาญเรื่องเกี่ยวกับ Y มักจะไม่ยอมรับ X เมื่อ X เป็นอะไรซักอย่างใน Y
(ที่ใช้คำว่า "มักจะ" ก็เพราะว่า มันไม่ใช่ทุกครั้ง)
ตัวอย่างเช่น
- คนที่ดูหนังมามาก ๆ มักจะวิจารณ์หนังเรื่องใหม่ ๆ ในทางลบ
- คนที่เห็นเสื้อบอลมามาก ๆ จะไม่ชอบเสื้อบอลรุ่นใหม่
- ฯลฯ
(อย่างไรก็ตาม การไม่ยอมรับ ไม่ใช่สิ่งที่ผิด)
เรื่องที่น่าแปลกก็คือ ข้อความตรงข้ามของประโยคข้างบน ก็เป็นจริงค่อนข้างบ่อย
คนที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องเกี่ยวกับ Y มักจะยอมรับ X เมื่อ X เป็นอะไรซักอย่างใน Y
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ก็อาจจะเป็นเพราะว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ชอบความขัดแย้ง ดังนั้น เมื่อมีใครเสนออะไรขึ้นมา เราก็มักจะไม่อยากไปโต้แย้งเขา นอกจากเราจะรู้จริง ๆ ว่ามันไม่ดีอย่างไร (คือ เราเชี่ยวชาญเรื่อง Y หรืออย่างน้อย เราคิดว่าเราเชี่ยวชาญเรื่อง Y)
(การยอมรับ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด)
ผลลัพธ์อย่างนึงของประโยคนี้ก็คือ คนที่ไม่ได้ใส่ใจการเมือง มีแนวโน้มจะยอมรับรัฐบาล
เมื่อผนวกกับ ความกลัวความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์อีกอย่าง เราจึงรู้ว่า
คนที่ไม่ได้ใส่ใจในการเมือง มีแนวโน้มที่จะยอมรับรัฐบาล และไม่คิดล้มล้างรัฐบาล
คนเหล่านี้ เป็น "ผู้สนับสนุนส่วนเกิน" ของรัฐบาล
รัฐบาลที่ฉลาด จะเห็นช่องว่างตรงนี้ แล้วพยายามดึงคนกลุ่มนี้เป็นพวกให้มากที่สุด เพราะว่า มีปริมาณมาก และคล้อยตามง่าย
อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนส่วนเกิน ไม่ใช่ผู้ที่ขัดขวางแนวทางของประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนประกอบที่เกิดขึ้นจาก ธรรมชาติของประชาธิปไตย
คนเดินขบวน
คนส่วนใหญ่ มักจะมีหน้าที่ประจำของตัวเองอยู่แล้ว การที่จะต้องละทิ้งหน้าที่ตัวเองเพื่อไปทำอะไรซักอย่าง ที่มัน "ไม่ปกติ" แสดงว่าสิ่งที่ไปทำนั้น จะต้องสำคัญมาก ๆ รัฐบาลควรมองพวกที่เดินขบวนเป็นข้อมูลที่ต้องสนใจ
การตั้งตัวเป็นศัตรูกับพวกที่เดินขบวน แล้วไม่รับฟังสิ่งใด ๆ จากคนเหล่านี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ รัฐบาลใด ๆ ควรจะเข้าใจว่า ปกติแล้ว คนจะไม่พยายามมาเหนื่อยในเรื่องแบบนี้ ถ้ามีขบวนเกิดขึ้น รัฐบาลควรจะถามว่า เขามาเดินขบวนกันทำไม จะได้ไปแก้ปัญหาให้ได้
การสลายกลุ่มผู้ประท้วง โดยการจ้างกลุ่มคนก่อความไม่สงบ (เช่น จ้างหญิงโสเภณีมาตีคนแก่ จ้างชาวบ้านมาแสดงการเผารูปผู้นำกลุ่มเดินขบวน ฯลฯ) เป็นสิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่าการไม่ฟังยิ่งนัก
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ประท้วง หรือกลุ่มคนก่อความไม่สงบ อาจจะถูกว่าจ้างมาจากฝั่งใดก็ได้ เช่น กลุ่มผู้ประท้วง อาจจะถูกว่าจ้างโดยฝ่ายค้าน หรือกลุ่มคนก่อความไม่สงบ อาจจะถูกว่าจ้างโดยกลุ่มผู้ประท้วงเอง เพื่อสร้างภาพที่ไม่ดีต่อรัฐบาล ดังนั้น เป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่ได้รับข้อมูลเหล่านี้ ที่จะต้องวิเคราะห์ด้วยเหตุผล อย่าคล้อยตามไปกับปริมาณข้อมูล
ถึงแม้ประชาธิปไตยจะเน้นสิทธิความเท่าเทียมกันของบุคคล แต่ตัวตนของผู้เดินขบวนก็เป็นข้อมูลที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะ ในกรณีที่ผู้เดินขบวน เป็นคนมีอายุ มีฐานะการงาน มีครอบครัว สิ่งนี้แสดงว่า ถึงแม้จะมีภาระรับผิดชอบมากมาย ยังยอม "เสี่ยงชีวิต" มาเดินขบวน
ตัวอย่างเช่น ผู้เคยที่ประท้วงรัฐบาลในอดีต (เมื่อยังเป็นนักศึกษา) มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญการเมือง สูงกว่าคนทั่วไป และมีแนวโน้มที่จะ "รักชาติ" มากกว่าด้วย การเรียกผู้มีอายุเหล่านี้ว่าเป็น "นักธุรกิจที่ถูกขัดผลประโยชน์" จึงฟังดูไม่สมเหตุสมผล (ในทางอุดมคติ ไม่ควรจะมี "นักธุรกิจที่ถูกขัดผลประโยชน์" ด้วยซ้ำ)