คนชอบ คนไม่ชอบ ...
คนที่ชอบเรา = คนที่พอใจในสิ่งที่เราทำ
คนที่ไม่ชอบเรา = คนที่ไม่พอใจในสิ่งที่เราทำ
คนที่รู้สึกเฉย ๆ กับเรา = คนที่ไม่คิดว่าต้องสนใจการกระทำของเรา
คนที่ไม่ชอบเรา = คนที่ไม่พอใจในสิ่งที่เราทำ
คนที่รู้สึกเฉย ๆ กับเรา = คนที่ไม่คิดว่าต้องสนใจการกระทำของเรา
ระดับความพอใจที่ X รู้สึกต่อ Y
- ความพอใจจากประสบการณ์ตรง: Y ช่วย X
- ความพอใจจากการวิเคราะห์: X รู้สึกว่า Y ทำสิ่งที่ X เห็นว่าดี
- เป็นที่พี่งทางใจ
- ช่วยแก้ปัญหา
- ให้เงิน
- ซ่อมถนนแถวบ้าน
- พัฒนาชุมชนแถบใกล้เคียง
- ฯลฯ
- ทำให้คนทั้งโลกมีความสุขมากขึ้น
- ทำให้คนหลาย ๆ คน รวยขึ้น
- ทำให้คนที่เราไม่ชอบ เสียหาย
- ปราบยาเสพติดได้
- สร้างงานให้ชนชั้นล่าง
- ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
- ฯลฯ
ความพอใจของคนหมู่มาก
มันเป็นเรื่องปกติที่ เราไม่สามารถสร้างประสบการณ์ตรงกับคนหมู่มาก (เช่น ทั้งประเทศ) ได้ วิธีที่จะทำให้คนส่วนใหญ่พอใจเรา ก็คือ การให้ข้อมูล
เพื่อที่จะให้ข้อมูลด้านดีของเรา ไปถึงคนส่วนใหญ่ได้ เราก็ควรจะควบคุมสื่อของข้อมูล ที่เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ (เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ)
วิธีควบคุมสื่อที่เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ ก็มีมากมายหลายอย่าง เช่น
- เป็นเจ้าของสื่อเอง
- ควบคุมสื่ออื่นทางตรง (ซื้อ)
- ควบคุมผู้ที่ทำงานให้สื่ออื่น
ใช้คนที่เราควบคุมได้ ไปเผยแพร่ข้อมูล (ที่อาจจะไม่จริง) เพื่อให้คนกลุ่มใหญ่พอใจ
ข้อมูลดึงอารมณ์
วิธีการสร้างข้อมูลสนับสนุนหรือบ่อนทำลาย มักจะเน้นที่การดึงอารมณ์ ตัวอย่างการสร้างภาพขอความเห็นใจ เช่น
- กลุ่มคนที่บ้าคลั่ง กำลังด่าทอ สาปแช่งเรา
- เด็ก คนแก่ คนป่วย คนพิการ คนจน มาให้กำลังใจเรา
ประชาธิปไตย
ประเด็นสำคัญของประชาธิปไตยก็คือ จำนวนคนที่ชอบเรา ดังนั้น วิธีที่กล่าวไว้ จึงเป็นวิธีที่นักการเมือง ในประเทศประชาธิปไตย นิยมมากที่สุด
แล้ว สิ่งที่ประชาชนควรกระทำหละ?
โดยอุดมคติแล้ว หน้าที่ของประชาชนก็คือ วิเคราะห์ประสบการณ์และข้อมูลต่าง ๆ แล้วตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ
แต่ ถ้าทุกคนคิด "ถูกต้องที่สุด" เหมือนกัน (และสิ่งที่ถูกต้องที่สุดมีเพียงหนึ่งเดียว) การเลือกตั้งทุกครั้งก็คงจบลงที่ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ได้คะแนนไม่เป็นศูนย์
แน่นอนว่า สิ่งนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ เพราะสิ่งที่ "ถูกต้องที่สุด" มันไม่มีนิยามที่ชัดเจน แต่ละคนก็จะมองแตกต่างกัน สิ่งที่ประชาชนพอจะทำได้ก็คือ พยายามเลือกสิ่งที่ "น่าจะถูกต้องที่สุด" ซึ่งตัวเลือกของแต่ละคน ก็มีสิทธิ์ที่จะแตกต่างกัน
สรุปก็คือ เราควรจะถามตัวเองเสมอ ๆ ด้วยเหตุผล เพื่อเตือนตัวเองให้ตัดสินใจใกล้เคียง "อุดมคติ" มากที่สุด ตัวอย่างคำถามก็เช่น
- ถ้าเราพอใจ X จากประสบการณ์จริง แสดงว่า X ทำเช่นเดียวกันกับผู้อื่นหรือไม่?
- ถ้าเราพอใจ X จากประสบการณ์จริง ผู้อื่นจะพอใจกับประสบการณ์แบบเดียวกันหรือไม่?
- ข้อมูลเกี่ยวกับ X ที่เราได้รับ มีโอกาสเป็นจริงหรือเท็จมากแค่ไหน?
- เรามีอคติหรือไม่ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ X?
- ถ้าเราพอใจข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับ X ผู้อื่นจะพอใจข้อมูลเดียวกันนี้หรือไม่?
- ฯลฯ
ผู้สนับสนุนส่วนเกิน
คนที่เชี่ยวชาญเรื่องเกี่ยวกับ Y มักจะไม่ยอมรับ X เมื่อ X เป็นอะไรซักอย่างใน Y
(ที่ใช้คำว่า "มักจะ" ก็เพราะว่า มันไม่ใช่ทุกครั้ง)
ตัวอย่างเช่น
- คนที่ดูหนังมามาก ๆ มักจะวิจารณ์หนังเรื่องใหม่ ๆ ในทางลบ
- คนที่เห็นเสื้อบอลมามาก ๆ จะไม่ชอบเสื้อบอลรุ่นใหม่
- ฯลฯ
(อย่างไรก็ตาม การไม่ยอมรับ ไม่ใช่สิ่งที่ผิด)
เรื่องที่น่าแปลกก็คือ ข้อความตรงข้ามของประโยคข้างบน ก็เป็นจริงค่อนข้างบ่อย
คนที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องเกี่ยวกับ Y มักจะยอมรับ X เมื่อ X เป็นอะไรซักอย่างใน Y
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ก็อาจจะเป็นเพราะว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ชอบความขัดแย้ง ดังนั้น เมื่อมีใครเสนออะไรขึ้นมา เราก็มักจะไม่อยากไปโต้แย้งเขา นอกจากเราจะรู้จริง ๆ ว่ามันไม่ดีอย่างไร (คือ เราเชี่ยวชาญเรื่อง Y หรืออย่างน้อย เราคิดว่าเราเชี่ยวชาญเรื่อง Y)
(การยอมรับ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด)
ผลลัพธ์อย่างนึงของประโยคนี้ก็คือ คนที่ไม่ได้ใส่ใจการเมือง มีแนวโน้มจะยอมรับรัฐบาล
เมื่อผนวกกับ ความกลัวความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์อีกอย่าง เราจึงรู้ว่า
คนที่ไม่ได้ใส่ใจในการเมือง มีแนวโน้มที่จะยอมรับรัฐบาล และไม่คิดล้มล้างรัฐบาล
คนเหล่านี้ เป็น "ผู้สนับสนุนส่วนเกิน" ของรัฐบาล
รัฐบาลที่ฉลาด จะเห็นช่องว่างตรงนี้ แล้วพยายามดึงคนกลุ่มนี้เป็นพวกให้มากที่สุด เพราะว่า มีปริมาณมาก และคล้อยตามง่าย
อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนส่วนเกิน ไม่ใช่ผู้ที่ขัดขวางแนวทางของประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนประกอบที่เกิดขึ้นจาก ธรรมชาติของประชาธิปไตย
คนเดินขบวน
คนส่วนใหญ่ มักจะมีหน้าที่ประจำของตัวเองอยู่แล้ว การที่จะต้องละทิ้งหน้าที่ตัวเองเพื่อไปทำอะไรซักอย่าง ที่มัน "ไม่ปกติ" แสดงว่าสิ่งที่ไปทำนั้น จะต้องสำคัญมาก ๆ รัฐบาลควรมองพวกที่เดินขบวนเป็นข้อมูลที่ต้องสนใจ
การตั้งตัวเป็นศัตรูกับพวกที่เดินขบวน แล้วไม่รับฟังสิ่งใด ๆ จากคนเหล่านี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ รัฐบาลใด ๆ ควรจะเข้าใจว่า ปกติแล้ว คนจะไม่พยายามมาเหนื่อยในเรื่องแบบนี้ ถ้ามีขบวนเกิดขึ้น รัฐบาลควรจะถามว่า เขามาเดินขบวนกันทำไม จะได้ไปแก้ปัญหาให้ได้
การสลายกลุ่มผู้ประท้วง โดยการจ้างกลุ่มคนก่อความไม่สงบ (เช่น จ้างหญิงโสเภณีมาตีคนแก่ จ้างชาวบ้านมาแสดงการเผารูปผู้นำกลุ่มเดินขบวน ฯลฯ) เป็นสิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่าการไม่ฟังยิ่งนัก
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ประท้วง หรือกลุ่มคนก่อความไม่สงบ อาจจะถูกว่าจ้างมาจากฝั่งใดก็ได้ เช่น กลุ่มผู้ประท้วง อาจจะถูกว่าจ้างโดยฝ่ายค้าน หรือกลุ่มคนก่อความไม่สงบ อาจจะถูกว่าจ้างโดยกลุ่มผู้ประท้วงเอง เพื่อสร้างภาพที่ไม่ดีต่อรัฐบาล ดังนั้น เป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่ได้รับข้อมูลเหล่านี้ ที่จะต้องวิเคราะห์ด้วยเหตุผล อย่าคล้อยตามไปกับปริมาณข้อมูล
ถึงแม้ประชาธิปไตยจะเน้นสิทธิความเท่าเทียมกันของบุคคล แต่ตัวตนของผู้เดินขบวนก็เป็นข้อมูลที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะ ในกรณีที่ผู้เดินขบวน เป็นคนมีอายุ มีฐานะการงาน มีครอบครัว สิ่งนี้แสดงว่า ถึงแม้จะมีภาระรับผิดชอบมากมาย ยังยอม "เสี่ยงชีวิต" มาเดินขบวน
ตัวอย่างเช่น ผู้เคยที่ประท้วงรัฐบาลในอดีต (เมื่อยังเป็นนักศึกษา) มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญการเมือง สูงกว่าคนทั่วไป และมีแนวโน้มที่จะ "รักชาติ" มากกว่าด้วย การเรียกผู้มีอายุเหล่านี้ว่าเป็น "นักธุรกิจที่ถูกขัดผลประโยชน์" จึงฟังดูไม่สมเหตุสมผล (ในทางอุดมคติ ไม่ควรจะมี "นักธุรกิจที่ถูกขัดผลประโยชน์" ด้วยซ้ำ)
8 Comments:
อยากให้เอาไปลงใน Manager Online ได้ไหมครับท่าน
อ๋า งั้นเลยเรอะ
เดี๋ยวนี้ไม่อัพเลย
อึม... ถ้า...
....การเมิองเป็นเรื่องของผลประโยชน์... ซึ่งนำมาสู่ความ ชอบ ไม่ชอบ ....
การเมืองไม่ได้มีขาวและดำ มีแต่เทาๆ base on ความจริงที่ว่า ทุกคนล้วนแต่ทั้งเลว และ ดี.. คือดีในบางเรื่อง และเลวในบางเรื่อง....
การเมือง ต้องสร้างภาพเสมอ สื่อทุกชนิดถูกสร้างโดยนักการเมือง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
หนังสือพิมพ์ -> ใช้ในราชสำนัขจีน
หนัง -> หนังสงคราม ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ
Radio -> เสียงตามสาย
tv -> ใช้ในการควบคุมคน (มันถึงได้มี PAL กับ NTSC ไง เพื่อไม่ให้คนในประเทศรับข้อมูลของประเทศศัตรูได้ไง )
SMS -> เคยมี นักธุรกิจคนหนึ่ง ใช้ในการโค่นล้มรัฐบาล
Internet -> กรรมก็สนองนักธุรกิจคนนั้น
"คนที่ไม่ได้ใส่ใจในการเมือง มีแนวโน้มที่จะยอมรับรัฐบาล และไม่คิดล้มล้างรัฐบาล" ไม่จำเป็น สำหรับบางคน ข้อมูลที่มีอาจจะเหมือนกัน แต่เค้าคิดว่า ไม่จำเป็นต้องล้มล้าง
เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มี เสือ สิงค์ กระทิ แรด นั้น มันคือการ balance อำนาจของแต่ล่ะฝ่ายให้ดีที่สุด ในบางเวลาอำนาจอาจจะย้ายขั้วไปมา แต่อย่าได้ให้ฝ่ายไดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ ฝ่ายที่ใช้การปลุกอารมณ์ต่อต้าน ได้ขึ้นมา เพราะเราไม่มีทางที่จะรับประกันอะไรได้เลย อีกทั้ง เป็นที่แน่นอนว่าการที่คนเรามีจุดหมายร่วมกันในการล้มล้างอะไรบางอย่าง มันไม่ใช่จะอยู่ด้วยกันอย่างไม่มีปัญหาเมื่อศัตรูร่วมตายไป ถ้าเป็นตามนี้ ต่อให้ขจัดคนโกงไป บ้างเมืองก็คงยังไม่สงบอีกนาน เพราะไม่ได้อยู่ในกฏิกา.....
ดังนั้น ในตอนที่รัฐบาลแข็งเกินไป การต่อต้านเป็นสิ่งที่ดี... เพื่อถ่วงดุล แต่เมื่อการต่อต้านนั้นเต็มไปด้วยอารมณ์ มันอัตรายกว่า คนที่มี เลว อย่างมีสติ โกงชาติ อย่างไม่ผิด และฉลาดเพราะที่แน่ๆ ถ้าเราทำให้เค้าต้องอยู่ ต้องกิน ต้องตาย ร่วมชาติกับเราได้ ยังไงคนที่ฉลาดคงไม่โกงทำให้เราและตัวมันเองต้องตกอยู่ในวิกฤตหรอก
ดังนั้น ทุกอย่างมีเหตุและผล เราไม่มีทางรู้ว่าทำไม เพราะทุกคนที่ออกมาล้วนแต่มีสิ่งซ่อนเร้นภายใน แต่ทางใหนที่จบสวยสุด....
ปล. อย่างสุดท้าย มันมีวิธีคิดบางอย่างที่คนสองประเภทคือ นักวิชาการ+ ผู้มีความรู้สูง แตกต่างกับพ่อค้า ที่ไม่ได้เรียนอะไรเก่งแต่ประสบความสำเร็จ คือ
การวัดดวง เพราะคนที่เก่งมีความรู้ มักจะไม่จำเป็นต้องวัดดวงมาก เพราะเค้าสามารถใช้ความสามารถอันล้นเหลืออยู่สบายได้ แต่สำหรับพ่อค้าที่ไม่เก่งในเรื่องวิชาความรู้ คนเหล่านี้ที่เราเห็นจะต้องพึ่งการเสี่ยงดวงอย่างมาก และมีดวงที่ดีจนประสบความสำเร็จ อย่างที่เค้าว่าเก่งไม่เท่าเฮง(ในเรื่องเงิน)ดังนั้นเค้าถึงว่ากันว่า ถ้าคิดสังคมในอุดมคติจะกลายเป็นมาร์ซไป แต่ถ้าคิดตามอุปสรรคที่เจอจริงๆก็จะลายเป็นว่าใครดีใครได้ไป(ทุนนิยม)
ใครเอ่ย ... ตอบยาวดีจัง :D
ติดใจตรงเนี้ย:
"คนที่ไม่ได้ใส่ใจในการเมือง มีแนวโน้มที่จะยอมรับรัฐบาล และไม่คิดล้มล้างรัฐบาล" ไม่จำเป็น
ก็อุตส่าห์ใส่คำว่า "มีแนวโน้ม" แล้วนา ไม่ได้บอกว่า "จำเป็น" หรือว่า "ทุกคน" ซักหน่อย ... สงสัยต้องเติมคำว่า "ส่วนใหญ่" เข้าไปด้วย :P
แล้วก็ มีช่วงนึง รู้สึกว่าอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเลย ... ช่วย post ใหม่ เรียบเรียงประโยคใหม่ให้หน่อยสิครับ
อ่อ แล้วก็ ... เรื่องพ่อค้ากะนักวิชาการเนี่ย ไม่กล้าบอกว่าเห็นด้วยนะ เพราะรู้สึำกว่า พ่อค้าที่ประสบความสำเร็จ ใช้ดวงอย่างเดียวไม่ได้หรอก ... จริง ๆ งานทุกอย่างแหละ จะทำให้มันดีได้ ก็ต้องพอมีฝีมือบ้าง
จ้า ... 1. มีแนวโน้ม ...เราเข้าใจไปเลยน่ะ... แต่ถ้ามีแนวโน้มก็ได้น่ะ...
2. เราก็คิดว่ามันก็ต้องมีมือ บ้าง.... ไม่มากก็น้อย แต่คงไม่ถึงกับไม่มี ... แต่ก็คงรู้กันว่าแม้จะเก่งแค่ใหนแต่ถ้าทำอะไรแล้วเต็มไปด้วยอุปสรรค ที่ไม่คาดคิด มันก็คงจะสำเร็จได้ยากขึ้นเรื่อยๆ น่ะ แล้วความเชื่อเรื่องดวงมันก็คงตอบคำถาม และเป็นที่พึ่งให้หลายๆคนตรงนี้ เพราะเมื่อมันเข้าไปอยู่ในที่แข่งขันสูงๆ การที่คนไม่มีฝีมือจะต่อสู้กับคนที่เก่งๆ ได้มันก็คงต้องอาศัยดวงอ่ะ... ซึ่งสรุปทั้งหมดได้ว่ามันอยู่บนสมุติฐานว่าคนเราพึ่งดวงไม่เท่ากัน...
شركة مكافحة النمل الابيض بالدمام
شركة رش مبيدات بالدمام
شركة تنظيف كنب بالدمام
شركة زهرة الخليج
تسليك مجارى
تنظيف منازل
كشف تسربات
مكافحة حشرات و رش مبيدات
نقل عفش و اثاث
غسيل كنب بالاحساء
Post a Comment
<< Home