Monday, May 08, 2006

วันนี้ก็ยาวอีกแล้ว

ตื่นตอนเช้า กินอาหารเช้า แต่งตัว ... พอถึงเก้าโมงก็มีคนมารับไปโรงงาน

ถ่ายรูปโรงงานเค้าได้ซักสิบกว่า ๆ รูป กล้องดันแบตหมด - -'' ... ช่างมัน พรุ่งนี้ค่อยไปถ่ายใหม่ละกัน (จริง ๆ แบตมันก็อยู่ใกล้ ๆ แหละ แต่ไม่มีโอกาสไปหยิบ)

ในโรงงานเค้ามีตู้ขายกาแฟร้อนด้วย หยอดได้แต่เหรียญนะ ... ใกล้ ๆ ตู้ก็มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ (ถ้าสูบ จะถูกปรับตั้งแต่ 28.5 ถึง 285 ยูโร) แต่คนงานเค้ามาสูบตรงนี้เพียบเลย ... ก็มันสูบกันทุกคนหนิเนอะ

พอบ่ายโมง เค้าก็พาไปกินข้าวกลางวัน เป็นโรงอาหารของโรงงานแหละ แต่อาหารก็พอใช้ได้นะ ... (ดีกว่าข้าวกลางวันของสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม แน่ ๆ)

ประมาณบ่ายสอง ก็กลับไปฟังเค้าบรรยายเรื่องเครื่องมือ เอา drawing มาให้ดูเพียบเลย ... เริ่มรู้สึกว่าตัวเองกะเหรี่ยงแฮะ ไม่รู้จักเครื่องหมายเค้าเลย (แต่พอฟัง ๆ แล้วก็เริ่มจะเข้าใจบ้างหละ)

ก่อนจะไปกินข้าวเย็น เรื่องสุดท้ายที่เค้าบรรยายก็คือ Plasma Sterilizer ซึ่งผู้ผลิตรายที่ดังที่สุดคือ Johnson & Johnson ทำอยู่เจ้าเดียวมาสิบปีแล้ว เพิ่งจะมีคนอื่นเริ่มทำก็ปีที่แล้วเนี่ยแหละ การทำงานของมันก็เข้าใจไม่ยากนะ แต่ทำยากจัง เค้าบอกว่า ต้องใช้ High Vacuum Pump เพื่อทำความดันภายใน chamber ให้ได้ต่ำถึง 0.01 millibar สัมบูรณ์ จากนั้นก็พยายามทำให้อิเล็กตรอน หลุดออกจากโมเลกุลของอากาศที่ยังเหลืออยู่ โมเลกุลมันก็จะไวต่อสนามไฟฟ้าเพราะมันมีประจุ ส่วนอิเล็กตรอนที่หลุดออกไป มันก็ไวเหมือนกัน พอของพวกนี้วิ่งไปชนกับสารอินทรีย์ พันธะมันก็จะแตกออกง่าย ๆ เค้าก็เลยใช้วิธีนี้ฆ่าเชื้อ ... เพื่อจะทำให้อิเล็กตรอนมันหลุดง่าย ๆ เค้าก็ใส่ก๊าซที่มีความเสถียรต่ำ เพิ่มลงไปด้วย (อันนี้เค้าใช้ H2O2)

ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ ใช้อุณหภูมิต่ำ คือ ประมาณ 40 - 55 °C เท่านั้น เลยใช้กับพลาสติกหรือวัสดุไม่ทนความร้อนได้ แต่ข้อเสียก็คือ ของที่ใส่เข้าไปต้องแห้งจัด ๆ

ความรู้ที่ได้เพิ่มตรงนี้มีสองเรื่อง คือ
  1. เหตุผลที่ต้องให้ของของเรา แห้งจัด ๆ ก็เพราะว่า ที่ความดัน 0.01 mbar สัมบูรณ์เนี่ย จุดเดือดของน้ำจะต่ำมาก (เกือบ 0°C) น้ำทั้งหมดจะกลายเป็นไอ ทำให้ปริมาณก๊าซใน chamber เพิ่มขึ้น ซึ่งก็แปลว่า ความดันจะเพิ่มด้วย มันก็จะไม่ใช่ 0.01 mbar แล้ว ตัว vacuum pump ต้องดูดเอาพวกนี้ออกให้หมดด้วย กระบวนการแบบนี้จะกินแรง pump มาก ๆ บางครั้งเครื่องอาจจะหยุดทำงานไปเลย แล้วแจ้งเตือนว่าความชื้นสูงเกินไป
  2. สถานะของก๊าซที่มีประจุเนี่ย เรียกว่า plasma (กะเหรี่ยงมั้ยเนี่ย ไม่รู้มาก่อน :P)
ถึงตอนเย็นเค้าก็พาไปกินข้าวเย็น จะบอกว่า สองทุ่มแล้วแหละ แต่ฟ้ายังไม่มืดเลยนะ

ที่ร้านอาหาร เค้าก็สอนภาษาอิตาลีให้นิด ๆ หน่อย ๆ เอาสนุก ส่วนใหญ่คือ จะแปลเมนูภาษาอิตาลีให้ฟัง (ร้านนี้ไม่มีเมนูภาษาอังกฤษ) จำได้นิดเดียวเอง ประมาณเนี้ย ...

acqua = water
antipasto = appetizer
zucchero = sugar

salmone = salmon
melone = melon
limone = lemon

fritto = fried
misto = mixed

mare = sea
pesce = fish
pescatore = fisherman
calamari = squid(s)
patata = potato
funghi = mushroom(s)

อ้อ ... แล้วก็ calcium เนี่ย เค้าอ่านว่า "คัลชุ่ม" แหละ

กินเสร็จก็กลับโรงแรมเลย ... ตอนนี้ก็ เลยเที่ยงคืนแล้วอ่า ... ไปนอนละ

3 Comments:

At 5/19/2006 1:55 PM, Anonymous Anonymous said...

....where r u a'? why did u go there a'?

noi

 
At 5/20/2006 2:07 AM, Anonymous Anonymous said...

เหอๆ ... ท่าทางจะได้ภาษา italy มาด้วยล่ะม้าง....

อึมๆแล้วจะกลับมาเมื่อไรกันเนี่ย แล้วจะมาเลี้ยงรุ่นวันที่ 27 ทันมั้ยเนี่ย....

 
At 5/26/2006 6:42 PM, Anonymous Anonymous said...

ขวัญกำลังทำอาชีพอะไรหรอ ดูแล้วท่าทางซับซ้อนอีกแล้วอ่า ... หุหุ

 

Post a Comment

<< Home