การยกกำลังกับจำนวนเชิงซ้อน
ก่อนเริ่ม
จำนวนเชิงซ้อนใด ๆ สามารถเขียนในรูป
a + ib และ reiθ
ได้ โดยที่ค่า a b r และ θ เป็นจำนวนจริงค่า θ สามารถมีได้หลายค่า เพราะว่า
eiθ = cos θ + i sin θ
ดังนั้นeiθ = ei(θ + 2πn)
สำหรับจำนวนเต็ม n ใด ๆ
ต่อไปนี้ จะให้ y กับ z เป็นจำนวนเชิงซ้อน ซึ่ง y = a + ib และ z = reiθ และ x เป็นจำนวนจริงนะ
การยกกำลังจำนวนจริงด้วยจำนวนเชิงซ้อน
xy = xa + ib = xa xib = xa (eln x)ib = xa eib ln x
ถ้าให้ x > 0 แล้ว f(a, b) = xa eib ln x เป็นฟังก์ชัน 1 ต่อ 1 รึเปล่า?
คำตอบก็คือ "ไม่" ...
เหตุผลแรก ... ถ้า x = 1 เราจะเห็นว่า xa = 1 เสมอ ไม่ว่า a จะเป็นอะไร ดังนั้น f(a, b) จะเท่ากันสำหรับทุกค่า a
แล้วถ้าเพิ่มเงื่อนไขให้เป็น x ∈ R+ - { 1 } หละ?
ก็ยังไม่ได้อยู่ดี เพราะว่า eib ln x = ei(b ln x + 2πn) ดังนั้น
ถ้าให้ b' ln x = b ln x + 2πn
b' = b + 2πn / ln x
eib ln x = eib' ln x
b' = b + 2πn / ln x
eib ln x = eib' ln x
จะเห็นว่า สามารถทำให้ f(a, b') = f(a, b) ได้โดยที่ b' ≠ b
งั้น ... ถ้าเราเพิ่มอีกเงื่อนไขนึง คือ b ln x ∈ [0, 2π) หละ?
f(a, b) ก็จะเป็นฟังก์ชัน 1 ต่อ 1 แล้ว!
การยกกำลังจำนวนเชิงซ้อนด้วยจำนวนจริง
zx = (reiθ)x = rxeiθx
f(x) = zx อาจจะไม่เป็นฟังก์ชันนะ!
ทำไมน่ะเหรอ? ... ก็ เพราะว่า eiθ = ei(θ + 2πn) หนิ ลองเอาไปแทนใหม่ดู
f(x) = zx = (rei(θ + 2πn))x = rxei(θx + 2πnx)
พอเป็นหยั่งงี้ มันก็เริ่มดูเพี้ยน ๆ แล้วหละ ... zx มีได้หลายค่า ขึ้นอยู่กับ n ... f(x) ไม่ใช่ฟังก์ชันแล้ว!
จริง ๆ มันก็ไม่แปลกเท่าไหร่นะ ... ก็ ตอนเราหาคำตอบของสมการ z2 = 1 เรายังได้คำตอบ 2 ค่าเลยหนิ
แล้วเมื่อไหร่ f(x) จะเป็นฟังก์ชันหละ?
- ถ้า x เป็นจำนวนเต็ม → nx เป็นจำนวนเต็ม
- พอ nx เป็นจำนวนเต็มแล้ว → g(x) = ei(θx + 2πnx) มีได้ค่าเดียว ก็เลยเป็นฟังก์ชัน
- เนื่องจาก f(x) = rxg(x) และ g(x) เป็นฟังก์ชัน → f(x) เป็นฟังก์ชัน
แต่ เพื่อให้เขียนสะดวก เรามักจะสมมติให้ zx เป็นฟังก์ชัน โดยเพิ่มข้อกำหนดอีกแบบเข้าไปเลย คือ
z = reiθ เมื่อ 0 ≤ θ < 2π
และ zx = rxeixθ
และ zx = rxeixθ
ค่าของ ii
เนื่องจาก i = eiπ/2 ดังนั้น
ii = (eiπ/2)i = e-π/2
อ๊ะ ... ii = e-π/2 = 0.207879576... !!!
ไม่ใช่ิสิ :P ... อย่าลืมว่า จริง ๆ แล้ว i = ei(π/2 + 2πn) เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ ... คิดใหม่แบบติด n ก็จะได้
ii = (ei(π/2 + 2πn))i = e-π/2 - 2πn
ii ก็เลยมีได้หลายค่า ... แต่ทุกค่า เป็นจำนวนจริงนะ!
การยกกำลังจำนวนเชิงซ้อนด้วยจำนวนเชิงซ้อน
คราวนี้ มาลองหาค่า zy กัน ...
zy = (reiθ)a + ib = [ra rib] (eiθ)a + ib
zy = [ra eib ln r] (ei(θ + 2πm))a + ib
zy = ra ei(b ln r + 2πn) ei(θa + 2πma) e-θb - 2πmb
zy = [rae-θb - 2πmb] ei(b ln r + θa + 2πma + 2πn)
zy = [ra eib ln r] (ei(θ + 2πm))a + ib
zy = ra ei(b ln r + 2πn) ei(θa + 2πma) e-θb - 2πmb
zy = [rae-θb - 2πmb] ei(b ln r + θa + 2πma + 2πn)
จะเห็นว่า ค่าของ zy จะมีได้หลายค่า อยากที่คาดเอาไว้ แต่คราวนี้ มีตัวแปรอิสระถึง 2 ตัว คือ m กับ n
ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ก็ไม่ควรเอาจำนวนเชิงซ้อนมายกกำลังกันนะ :D
0 Comments:
Post a Comment
<< Home